ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน เทศบาลเมืองเบตง ของฝากหลากหลายที่เป็น OTOP ของชุมชนในเมืองเบตง จำหน่ายผลิตภัณฑ์สินค้าเบตง และสินค้าของฝากอาทิเช่น หมี่เบตง เสื้อสัญลักษณ์เบตง โกปี้โบราณเบตง กล้วยฉาบเบตง กล้วยกรอบเบตง โรตีกรอบเบตง แมสเบตง ไก่เบตงตุ๋นต้าลิหวัง ปลาส้มบ้านคอกช้าง เป็นต้น เป็นการร่วมมือของเทศบาลเบตงและกลุ่มชุมชนต่างๆในพื้นที่ ณ อาคารจำลอง ๑๑๑ปี เล่าขานตำนานเมืองเบตง
สาระ บันเทิง การท่องเที่ยว กิจกรรมทั่วไปเกี่ยวกับเรื่องรอบตัวเรา และเกล็ดเล็กเกล็ดน้อยของเมืองเบตง สถานที่ต่างๆที่เคยไปมา อาหารการกินของคนท้องถิ่น เผยแพร่เรื่องราวต่างๆในมุมมองของชีวิตผ่านสายตาของท่านผู้ชมทุกคน กับเรื่องราวต่างๆที่ได้ถ่ายทอดออกมาซึ่งอาจมีประโยชน์ด้านข่าวสารและเป็นประสบการณ์ความทรงจำของชีวิตเรา
วันศุกร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564
วันอังคารที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2563
ทริป 8.1 อุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว ผาพญางู เขารังเกียบ
ทริป 8.1 อุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว ผาพญางู เขารังเกียบ ต่อเนื่องจากทริปที่8 เป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติอุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว มีระยะทางทั้งหมด 1400 เมตร โดยจะมีฐานความรู้ต่างๆ
หินเทพพินิจหรือหินหน้าคน หินที่มีลักษณะคล้ายใบหน้ามนุษย์ ซึ่งหินก้อนเดียวกันสามารถมองเห็นทั้งสองด้าน คล้ายใบหน้ามนุษย์ที่มีความแตกต่างกันคือด้านแรกคล้ายใบหน้าคนหนุ่มอายุประมาณ 40 ปี ส่วนอีกด้านหนึ่งคล้ายใบหน้าคนแก่อายุประมาณ 60 ปี เชื่อกันว่าหินก้อนนี้มีเทพสถิตคอยเฝ้ามองมิให้ผู้ใดแอบนำสิ่งของที่ไม่ได้รับอนุญาตินำออกไปจากสถานที่แห่งนี้ หินเทพพินิจดังกล่าวนับว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่ชาวบ้านทรายขาว ให้ความเคารพนับถือด้วยเช่นกัน
บ่อธารน้ำทิพย์ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ เป็นบ่อน้ำโบราณที่ชุมชนในอดีตเคยนำน้ำมาใช้ประโยชน์ ว่ากันว่าน้ำในบ่อนี้ได้ไหลผ่านชั้นหินใต้ดิน และผ่านแร่ต่างๆ รวมถึงรากไม้หลายชนิด ไหลมารวมกันที่บ่อแห่งนี้ จนกลายเป็นน้ำสมุนไพร สามารถนำน้ำมารักษาโรคและใช้เพื่อความเป็นสิริมงคลตามความเชื่อ อุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาวได้นำตัวอย่างน้ำไปให้ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิยาเขตปัตตานีทำการวิเคราะห์ผล ปรากฎว่าสามารถดื่มได้ตามหลักมาตรฐานกรมอนามัย และได้ออกหนังสือรับรอง เลขที่ 23/55 ลงวันที่ 27/12/55 เป็นที่เรียบร้อย
ผาพญางู ตั้งอยู่ริมทางบริเวณทางขึ้นจุดชมวิวเขารังเกียบ ซึ่งเป็นทางถนนซีเมนต์ซึ่งมีความคดเคี้ยวสูงชัน ผาพญางู (phaya ngu cliff) เป็นก้อนหินผาขนาดใหญ่ ที่มีความสูงราวตึก 3-4 ชั้น มีรูปลักษณะคล้ายกับหัวงูขนาดใหญ่โผล่พ้นออกมาจากหน้าผา
ถ้ำวิปัสสนาเขาหินช้าง เป็นที่ประดิษฐ์สถานของพระพุทธรูปแกะสลักจากแก่นไม้ปางมารวิชัยหรือชนะมาร ลักษณะพระพุทธรูปปางนี้อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาะิ โดยพระหัตถ์ซ้ายหงายวางบนพระเพลา พระหัตถ์ขาววางคว่ำลงที่พระชานุ นิ้วพระหัตถ์ชี้ลงที่พื้นธรณี สันนิฐานว่ามีอายุมากกว่า 200 ปี จากคำบอกเล่าสถานที่แห่งนี้เคยเป็นที่นั่งวิปปัสนาของหลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด และท่านอาจารย์นอง อดีตเจ้าอาวาสวัดทรายขาว ถ้ำแห่งนี้จึงถือว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านในตำบลทรายขาว และตำบลที่อยู่ใกล้เคียงได้ให้ความเคารพนับถือ
หินสลักพระนามาภิไธย (หินเต่า) สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และสมเด็จพระพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทรื ทั้งสองพระองค์ได้เสด็จทรงลงพระนามาภิไธย เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2514
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเบิกพระเนตร พระพุทธมหามุนินทโลกนาถ พร้อมทรงลงพระนามาภิไธย เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ.2556 พระพุทธมหามุนินทโลกนาถ พระพุทธรูปปางยมกปาฏิหาริย์ ซึ่งสร้างขึ้นจากดำริของ “พระครูธรรมกิจโกศล” หรือ “พระอาจารย์นอง ธมฺมภูโต” อดีตเจ้าอาวาสวัดทรายขาว พระปางยมกปาฏิหาริย์ เป็นพระพุทธรูปอยู่ในอิริยาบถประทับนั่งบนบัลลังก์ ห้อยพระบาททั้งสอง วางบนดอกบัวที่รองรับเข่า ยกตั้งแบบประทับบนพระเก้าอี้ พระหัตถ์ซ้ายวางบนตัก พระหัตถ์ขวายกขึ้นเสมออก จีบนิ้วพระหัตถ์ ปัจจุบันพระปางยมกปาฏิหาริย์นับเป็นหนึ่งในศาสนสถานที่สำคัญในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามพุทธประวัตินั้น มีความว่า เมื่อพระพุทธเจ้าเสวยน้ำปานะเสร็จ ทรงรับสั่งให้นายคัณฑะ นำเม็ดมะม่วงไปปลูก เมื่อทรงล้างพระหัตถ์ลงบนปากหลุม เม็ดมะม่วงก็เจริญเติบโต ออกผลเต็มต้นเป็นอัศจรรย์ ต้นมะม่วงนั้นมีชื่อว่า คัณฑามพฤกษ์ ตามชื่อของนายคัณฑะ พระพุทธองค์ทรงเนรมิตจงกรมแก้ว ในอากาศเหนือต้นมะม่วง แล้วเสด็จขึ้นสู่ที่จงกรมนั้น ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ หรือการทำปาฏิหาริย์ให้บังเกิดเป็นคู่ ๆ โดยวิธีต่างๆ คือมีท่อน้ำและท่อไฟพุ่งมา จากส่วนต่างๆ ของพระวรกายสลับกันไป ท่อไฟที่พุ่งออกมานั้นมีฉัพพรรณรังสี คือมี 6 สีสลับกัน เมื่อกระทบกับสายน้ำ มีแสงสะท้อนสวยงามมาก ทรงเนรมิตพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขึ้นมาอีกพระองค์หนึ่ง ทรงให้พุทธเนรมิตแสดงอาการ สลับกันกับพระพุทธองค์ เมื่อพระพุทธองค์ทรงยืน พระพุทธเนรมิตก็เสด็จจงกรม เมื่อพระพุทธองค์เสด็จจงกรม พระพุทธเนรมิตก็ทรงยืน เมื่อทรงตั้งปัญหาถาม พระพุทธเนรมิตก็ตรัสวิสัชนาแก้ สลับกันไป
วันพฤหัสบดีที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2563
ทริปที่ 8 เส้นทางท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว จังหวัดปัตตานี
อุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว น้ำตกทรายขาวตั้งอยู่หมู่ที่ 5 ตำบลทรายขาว อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี มีอาณาเขตอยู่ในพื้นที่รอยต่อ 3 จังหวัดชาดแดนภาคใต้ตอนล่างคือ ปัตตานี ยะลาและสงขลา มีพื้นที่ 43,482 ไร่หรือ 69,571 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเขาใหญ่และป่าเทือกเขาสันกาลาคีรี สภาพพื้นที่เป็นป่าดิบชื้น เป็นต้นกำเนิดของต้นน้ำลำธารที่สำคัญที่อุดมไปด้วยพรรณไม้และสัตว์ป่านานาชนิด ตลอดจนมีเอกลัดษณ์ทางธรรมชาติที่สวยงาม อุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาสันกาลาคีรี มีน้ำตกที่สวยงามถึง 3 แห่งคือ น้ำตกทรายขาว น้ำตกโผงโผง น้ำตกอรัญวาริน
น้ำตกทรายขาว มีความสูง 40 เมตร รวม 10 ชั้น เดิมชาวบ้านเรียกว่า "น้ำตกกระโถน" ถูกค้นพบโดย พระครูศรีรัตนกร (ท่านศรีแก้ว) อดีตเจ้าอาวาศวัดทรายขาว เมื่อประมาณปี พ.ศ.2475 และท่านได้ชักชวนราษฎร์ทำการปรับปรุงเส้นทางขึ้นน้ำตกและบริเวณน้ำตก ต่อมาน้ำตกแห่งนี้ได้รับการพัฒนามาเป็นลำดับ จนถึงปัจจุบันอยู่ในการดูแลรับผิดชอบของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชได้รับการจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 145 ตอนที่ 71ก ลงวันที่ 28 พฤษภาคม 2551 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 110 ของประเทศไทย
วันอาทิตย์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2563
เส้นทางท่องเที่ยวน้ำตกโผงโผง จังหวัดยะลา
เส้นทางท่องเที่ยวน้ำตกโผงโผง จังหวัดยะลา โดยจุดเริ่มต้นที่ถ้ำศิลป ถ้ำเสือต่อจากคลิป 6.3 ออกจากถ้ำเสือขับผ่านวัดคูหาภิมุข(วัดถ้ำยะลา) ถึงแยกให้เลี้ยวซ้าย โดยใช้เส้นทางหมายเลข 409 ถึงแยกบ้านเนียงให้เลี้ยวขวาไปตามเส้นทาง 409 ระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 30 นาที ขับจนมาถึงวัดธนาภิมุข(วัดปากล่อ)และมีป้ายบอกทางเข้าน้ำตกโผงโผง ให้เลี้ยวซ้าย แล้วขับเข้าไปอีกประมาณ 5 กิโลเมตรก็จะถึงน้ำตกโผงโผง
น้ำตกโผงโผง ตั้งอยู่หมู่ที่ 8 ตำบลปากล่อ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี เป็นที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว ที่ ทข.1 (น้ำตกโผงโผง)ห่างจากน้ำตกทรายขาวประมาณ 18 กิโลเมตร เป็นน้ำตกที่เกิดจากยอดเขานางจันทร์ น้ำตกโผงโผงเป็นน้ำตกที่ไหลลดหลั่นลงมาเป็นขั้นบันได จำนวน 7 ชั้น จากที่ราบชั้นล่างสุดมีแอ่งน้ำตกขนาดใหญ่มองขึ้นไปยังผาน้ำตกชั้นบน จะมองเห็นน้ำตกไหลลงมาเป็นสายน้ำคดเคี้ยว ตามหน้าผาและโขดหินพื้นที่บริเวณ สองข้างลำธารและบริเวณที่ใกล้น้ำตก มีความร่มรื่นถูกปกคลุมด้วยพันธุ์ไม้นานา ชนิดสภาพร่มรื่นเย็นสบายเหมาะแก่การพักผ่อน
วันอังคารที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2563
ทริป 6.3 ถ้ำศิลป์ ถ้ำเสือ จังหวัดยะลา ประเทศไทย
โบราณสถานถ้ำศิลป ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 บ้านบันนังลูวา ตำบลหน้าถ้ำ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ประเทศไทย ประวัติการศึกษาค้นพบเมือ่พ.ศ.2468 โดยหะยีแวกะจิ ฆอรี ได้แจ้งกำนันตำบลหน้าถ้ำว่าได้พบชิ้นส่วนพระพุทธรูปปูนปั้น และชิ้นส่วนภาชนะดินเผาภายในถ้ำ ต่อมาในปี พ.ศ. 2478 ขุนศิลปกรรมพิเศษ(แปลก เจริญสิน)ศึกษาธิการจังหวัดยะลาได้สั่งให้นายถ่อง แก้วนิตย์ ผู้ควบคุมกองลูกเสือโรงเรียนประจำจังหวัดยะลาพาลูกเสือขึ้นไปสำรวจ ขุนศิลปกรรมพิเศษได้ขึ้นไปสำรวจถ้ำในเดือนเดียวกันและพบภาพเขียนสี จึงแจ้งให้กรมศิลปากร ดังนั้นเพื่อเป็นเกียรติแก่กรมศิลปพิเศษ ทางการจึงตั้งชื่อว่า "ถ้ำศิลป"
ถ้ำศิลป ตั้งอยู่ทางทิศใต้บนเขาหินปูน "เขาถ้ำพระนอน" ซึ่งเป็นเขาเดียวกับวัดคูหาภิมุข ห่่างจากแม่น้ำปัตตานีประมาณ 1 กิโลเมตร ถ้ำอยู่สูงจากพื้นดินประมาณ 28.20 เมตร ปากถ้ำหันไปทางทิศตะวันตก มีลักษณะเป็นโถงกว้างขนาด 28 เมตร ยาว 32.70 เมตร พบหลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญ 1. ภาพเขียนสี ประกอบด้วยภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ เขียนด้วยสีดำเป็นภาพคนกำลังล่าสัตว์โดยทำท่าเป่าลูกดอกและยิงธนู และภาพเขียนสีสมัยประวัติศาสตร์เขียนด้วยสี แดง ดำ ขาวเป็นภาพเรื่องรางพุทธประวัติและสัญลักษณ์ในพระพุทธศาสนา เช่นภาพหมู่พระพุทธเจ้าประทับนั่งเรียงกัน พุทธประวัติตอนธิดาพญามาร ดวงดารา 8ดวงเป็นต้น โดยมีลักษณะศิลปะที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะศรีวิชัยและสุโขทัย สันนิษฐานว่าเขียนขึ้นครั้งแรกราวพุทธศตวรรษที่ 15 และเขียนเพิ่มเติมอีกครั้งในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19-20
2. หลักฐานจากการขุดค้นทางโบราณคดีในปี พ.ศ.2548 พบหลักฐานที่สำคัญได้แก่ ชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเนื้อดินลายเชือกทาบ ลูกปัดเปลือกหอย เครื่องมือกระดูกสัตว์ปลายแหลม กำหนดอายุอยู่ในช่วงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ยุคหินใหม่ราว 3000ปีมาแล้ว และพบหลักฐานสมัยประวัติศาสตร์เช่น ชิ้นส่วนพระพิมพ์ดินดิบ กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ 14-15 ชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเตาปะโอ เครื่องถ้วยจีน เครื่องถ้วยจากแหล่งเตาสุโขทัยราวพุทธศตวรรษที่ 17-20 เป็นต้น
กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนถ้ำศิลปเป็นโบราณสถาน ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่52 ตอนที่75 วันที่ 8 มีนาคม 2478 หน้าที่3695 ภาพเขียนสีถ้ำศิลปบนผนังทางทิศตะวันตก เขียนเกี่ยวกับเรื่องราวพุทธประวัติ (ประวัติของพระพุทธเจ้า)ใช้สีดำ แดง ขาวในการเขียนภาพ สภาพค่อนข้างลบเลือน ตัวอย่างภาพที่พอมองเห็นในปัจจุบันได้แก่ ภาพหมู่พระพุทธเจ้าและพระสาวกประทับนั่งเรียงกัน ภาพพระพุทธรูปปางสมาธิมีนาคปรก(สันนิษฐานว่าเป็นตอนพระพุทธเจ้าเสวยวิมุติสุขภายหลังการตรัสรู้ โดยมีพญานาคมุจลินทร์แผ่พังพานปกป้องพระพุทธเจ้า) ด้านล่างเป็นภาพขนาดเล็กอาจเป็นภาพของพลมาร ถัดไปเป็นภาพพระพุทธเจ้าปางสมาธิมีธิดามาร 3องค์ได้แก่นางตัณหา นางราคา และนางอรดี(สันนิษฐานว่าเป็นตอนพระพุทธเจ้าผจญมาร) ภาพพระพุทธเจ้าปางประทานอภัยในอริยาบถเดินลีลา ภาพพระพุทธเจ้าปางมารวิชัยบนรัตนบัลลังก์ มีพระสาวกขนาบข้างเป็นต้น โดยภาพมีลักษณะได้รับอิทธิพลจากศิลปะศรีวิชัยและสุโขทัย สันนิษฐานว่าเขียนขึ้นครั้งแรกราวพุทธศตวรรษที่15 และเขียนเพิ่มเติมอีกครั้งในช่วงศตวรรษที่19-20
ภาพเขียนสีถ้ำศิลปบนผนังทางทิศตะวันออก แบ่งภาพออกเป็น2 กลุ่มได้แก่
1. กลุ่มภาพเขียนสีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เขียนด้วยสีดำ แสดงภาพกลุ่มคนกำลังล่าสัตว์หันหน้าไปทางทิศใต้ โดยตรงกลางทำเป็นภาพคนกำลังเป่าลูกดอก คนยืน คนยืนแอ่นท้อง คนยืนโก่งคันธนู ส่วนด้านคนเป่าลูกดอกเป็นภาพคนนั่งขนาดเล็ก
2.กลุ่มภาพเขียนสีสมัยประวัติศาสตร์ เขียนด้วยสีดำ แดง ขาว เป็นภาพเรื่องราวในพุทธประวัติและสัญลักษณ์ในพระพุทธศาสนา สภาพค่อนข้างลบเลือน สามารถมองเห็นเพียงบางส่วนได้แก่ ภาพดวงดาราแปดดวง ภาพคนสองคนนั่งหันหน้าเข้าหากัน ภาพล่างสุดตอนกลางเป็นภาพคนนั่งสามคน เป็นต้นวันศุกร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2563
เบตง บรรยากาศสุดคึกคัก ต้อนรับนักท่องเที่ยววันหยุดยาว
เนื่องจากรัฐบาลได้กำหนดวันหยุดยาวระหว่างวันที่ 10-13 ธันวาคม 2563 ทำให้มีนักท่องเที่ยวจำนวนมากได้มาท่องเที่ยวเมืองเบตง ทำให้บรรยากาศเมืองเบตงคึกคัก โดยสถานที่เที่ยวอันดับต้นๆคือ สกายวอล์คเบตง และช่วงเย็นๆค่ำๆ นักท่องเที่ยวจะมาถ่ายรูปบริเวณหอนาฬิกาเบตง ตู้ไปรษณีย์ใหญ่ที่สุดในโลก และอุโมงค์เบตงมงคลฤทธิ์ โดยมีการประดับประดาไฟสวยงามไว้ต้อนรับนักท่องเที่ยว
วันอังคารที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2563
เส้นทางคอกช้าง จังหวัดยะลา
เส้นทางคอกช้าง จังหวัดยะลา โดยจุดเริ่มต้นที่แยกฆอแย ถ้ามาจากยะลาอยู่เลนซ้ายบนจอประมาณกิโลเมตรที่ 80 เลี้ยวขวาตรงแยกฆอแยใช้เส้นทาง 410หรือ 4363 ไปบ้านคอกช้างระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตรเมื่อถึงบ้านคอกช้างให้ใช้เส้นทาง 3006 ขับไปจนถึงแยก กม.27 จากแยก กม.27เลี้ยวขวาไปเมืองเบตง เลี้ยวซ้ายไปยะลา(เส้นทาง 410) เส้นทางคอกช้างสามารถช่วยร่นระยะเวลาการเดินทางจากยะลา-เบตงหรือจากเมืองเบตง-ยะลาได้ประมาณ 20-30 นาทีโดยประมาณ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)