แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ทริป 8.1 อุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว ผาพญางู เขารังเกียบ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ทริป 8.1 อุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว ผาพญางู เขารังเกียบ แสดงบทความทั้งหมด

วันอังคารที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2563

ทริป 8.1 อุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว ผาพญางู เขารังเกียบ


   ทริป 8.1 อุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว ผาพญางู เขารังเกียบ ต่อเนื่องจากทริปที่8 เป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติอุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว มีระยะทางทั้งหมด 1400 เมตร โดยจะมีฐานความรู้ต่างๆ















หินเทพพินิจหรือหินหน้าคน หินที่มีลักษณะคล้ายใบหน้ามนุษย์ ซึ่งหินก้อนเดียวกันสามารถมองเห็นทั้งสองด้าน คล้ายใบหน้ามนุษย์ที่มีความแตกต่างกันคือด้านแรกคล้ายใบหน้าคนหนุ่มอายุประมาณ 40 ปี ส่วนอีกด้านหนึ่งคล้ายใบหน้าคนแก่อายุประมาณ 60 ปี เชื่อกันว่าหินก้อนนี้มีเทพสถิตคอยเฝ้ามองมิให้ผู้ใดแอบนำสิ่งของที่ไม่ได้รับอนุญาตินำออกไปจากสถานที่แห่งนี้ หินเทพพินิจดังกล่าวนับว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่ชาวบ้านทรายขาว ให้ความเคารพนับถือด้วยเช่นกัน















บ่อธารน้ำทิพย์ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ เป็นบ่อน้ำโบราณที่ชุมชนในอดีตเคยนำน้ำมาใช้ประโยชน์ ว่ากันว่าน้ำในบ่อนี้ได้ไหลผ่านชั้นหินใต้ดิน และผ่านแร่ต่างๆ รวมถึงรากไม้หลายชนิด ไหลมารวมกันที่บ่อแห่งนี้ จนกลายเป็นน้ำสมุนไพร สามารถนำน้ำมารักษาโรคและใช้เพื่อความเป็นสิริมงคลตามความเชื่อ อุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาวได้นำตัวอย่างน้ำไปให้ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิยาเขตปัตตานีทำการวิเคราะห์ผล ปรากฎว่าสามารถดื่มได้ตามหลักมาตรฐานกรมอนามัย และได้ออกหนังสือรับรอง เลขที่ 23/55 ลงวันที่ 27/12/55 เป็นที่เรียบร้อย















ผาพญางู ตั้งอยู่ริมทางบริเวณทางขึ้นจุดชมวิวเขารังเกียบ ซึ่งเป็นทางถนนซีเมนต์ซึ่งมีความคดเคี้ยวสูงชัน ผาพญางู (phaya ngu cliff) เป็นก้อนหินผาขนาดใหญ่ ที่มีความสูงราวตึก 3-4 ชั้น มีรูปลักษณะคล้ายกับหัวงูขนาดใหญ่โผล่พ้นออกมาจากหน้าผา















ถ้ำวิปัสสนาเขาหินช้าง เป็นที่ประดิษฐ์สถานของพระพุทธรูปแกะสลักจากแก่นไม้ปางมารวิชัยหรือชนะมาร ลักษณะพระพุทธรูปปางนี้อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาะิ โดยพระหัตถ์ซ้ายหงายวางบนพระเพลา พระหัตถ์ขาววางคว่ำลงที่พระชานุ นิ้วพระหัตถ์ชี้ลงที่พื้นธรณี สันนิฐานว่ามีอายุมากกว่า 200 ปี จากคำบอกเล่าสถานที่แห่งนี้เคยเป็นที่นั่งวิปปัสนาของหลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด และท่านอาจารย์นอง อดีตเจ้าอาวาสวัดทรายขาว ถ้ำแห่งนี้จึงถือว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านในตำบลทรายขาว และตำบลที่อยู่ใกล้เคียงได้ให้ความเคารพนับถือ















หินสลักพระนามาภิไธย (หินเต่า) สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และสมเด็จพระพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทรื ทั้งสองพระองค์ได้เสด็จทรงลงพระนามาภิไธย เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2514
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเบิกพระเนตร พระพุทธมหามุนินทโลกนาถ พร้อมทรงลงพระนามาภิไธย เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ.2556















พระพุทธมหามุนินทโลกนาถ พระพุทธรูปปางยมกปาฏิหาริย์ ซึ่งสร้างขึ้นจากดำริของ “พระครูธรรมกิจโกศล” หรือ “พระอาจารย์นอง ธมฺมภูโต” อดีตเจ้าอาวาสวัดทรายขาว พระปางยมกปาฏิหาริย์ เป็นพระพุทธรูปอยู่ในอิริยาบถประทับนั่งบนบัลลังก์ ห้อยพระบาททั้งสอง วางบนดอกบัวที่รองรับเข่า ยกตั้งแบบประทับบนพระเก้าอี้ พระหัตถ์ซ้ายวางบนตัก พระหัตถ์ขวายกขึ้นเสมออก จีบนิ้วพระหัตถ์ ปัจจุบันพระปางยมกปาฏิหาริย์นับเป็นหนึ่งในศาสนสถานที่สำคัญในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามพุทธประวัตินั้น มีความว่า เมื่อพระพุทธเจ้าเสวยน้ำปานะเสร็จ ทรงรับสั่งให้นายคัณฑะ นำเม็ดมะม่วงไปปลูก เมื่อทรงล้างพระหัตถ์ลงบนปากหลุม เม็ดมะม่วงก็เจริญเติบโต ออกผลเต็มต้นเป็นอัศจรรย์ ต้นมะม่วงนั้นมีชื่อว่า คัณฑามพฤกษ์ ตามชื่อของนายคัณฑะ พระพุทธองค์ทรงเนรมิตจงกรมแก้ว ในอากาศเหนือต้นมะม่วง แล้วเสด็จขึ้นสู่ที่จงกรมนั้น ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ หรือการทำปาฏิหาริย์ให้บังเกิดเป็นคู่ ๆ โดยวิธีต่างๆ คือมีท่อน้ำและท่อไฟพุ่งมา จากส่วนต่างๆ ของพระวรกายสลับกันไป ท่อไฟที่พุ่งออกมานั้นมีฉัพพรรณรังสี คือมี 6 สีสลับกัน เมื่อกระทบกับสายน้ำ มีแสงสะท้อนสวยงามมาก ทรงเนรมิตพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขึ้นมาอีกพระองค์หนึ่ง ทรงให้พุทธเนรมิตแสดงอาการ สลับกันกับพระพุทธองค์ เมื่อพระพุทธองค์ทรงยืน พระพุทธเนรมิตก็เสด็จจงกรม เมื่อพระพุทธองค์เสด็จจงกรม พระพุทธเนรมิตก็ทรงยืน เมื่อทรงตั้งปัญหาถาม พระพุทธเนรมิตก็ตรัสวิสัชนาแก้ สลับกันไป