วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

เฟิร์นบัวแฉกหรือบัวแฉก พบได้ที่ทะเลหมอกจาเราะกางา อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ...


   เฟิร์นบัวแฉกหรือบัวแฉก เป็นเฟิร์นดึกดำบรรพ์ชนิดหนึ่งของโลกพบได้ที่ทะเลหมอกจาเราะกางา อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ลักษณะทั่วไปของเฟินในสกุลนี้ เป็นเฟินดิน ขนาดกลางถึงใหญ่ ลำต้นเป็นเหง้าฝังตัวอยู่ในดิน เลื้อยไกล แข็งเป็นเนื้อไม้ ปกคลุมแน่นด้วยขนหยาบ สีดำ ขนประกอบด้วยเซลล์หลายเซลล์ เรียงต่อกันเป็นแถว ลักษณะก้านใบ ก้านใบยาว ไม่มีปมข้อต่อระหว่างโคนก้านกับเหง้า ก้านชูตั้งขึ้น ผิวเเกลี้ยง ด้านหน้าเป็นร่อง ระบบท่อลำเลียงจัดเรียงตัวรูปตัว U โค้งคว่ำลง ลักษณะใบ แบ่งเป็น 2 ส่วนเท่าๆ กัน ก็มี ละแต่ละแผ่นแบ่งเป็นหลายส่วน ไม่เท่ากัน แกนใบหลัก แตกสาขาคู่หลายครั้ง เส้นใบโค้งจรดเข้าหากัน แผ่นใบบางเหมือนแผ่นกระดาษ ปลายใบแฉกลึก แผนใบหนา เกลี้ยง หรืออาจสากคายมือด้วยมีขนที่อยู่ทางด้านล่าง แต่ก็พบบ่อยที่ผิวด้านล่างเกลี้ยง อับสปอร์ เม็ดกลม เล็ก เปลือย จัดเรียงตัวไม่เป็นระเบียบใต้ผิวใบ ปกติมักจะอยู่ที่ปลายย่อยของเส้นใบ ไม่มีเยื่อหุ้มอินดูเซียปิดคลุมอับสปอร์ มีเยื่อ paraphyses คลุม

















ทะเลหมอกจาเราะกางา ยังมีอีกหนึ่งไฮไลท์ที่น่าสนใจก็คือใบไผ่รูปดอกกุหลาบ เป็นต้นไผ่ที่แปลกตาตรงที่ใบมีรูปคล้ายๆดอกกุหลาบ ที่ธรรมชาติสร้างสรรค์มาให้ดูสวยงาม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น