แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ "สิละ"หรือ"ซีละ" ศิลปะการต่อสู้ของไทยมุสลิมแบบโบราณ "Sila"is an ancient Thai Muslim martial art. แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ "สิละ"หรือ"ซีละ" ศิลปะการต่อสู้ของไทยมุสลิมแบบโบราณ "Sila"is an ancient Thai Muslim martial art. แสดงบทความทั้งหมด

วันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2567

"สิละ"หรือ"ซีละ" ศิลปะการต่อสู้ของไทยมุสลิมแบบโบราณ "Sila"is an ancient ...


   สิละ หรือ ซีละ เป็นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวอย่างหนึ่งของไทยมุสลิม ทำนองเดียวกับคาราเต้ ยูโด กังฟู หรือมวยไทยมุสลิมภาคใต้เรียกว่าการต่อสู้แบบสิละอย่างหนึ่งว่า “ดีกา” หรือ “เบือดีกา” ในพื้นที่จังหวัดสตูล เรียกศิลปะการต่อสู้แบบนี้ ตามความเดิมว่า สิละ และบางพื้นที่เรียกว่า “กายอ” หรือ “กาหยง” ซึ่งเป็นประเภทของสิละที่ใช้ “กริช” ประกอบการร่ายรำ สิละเป็นการต่อสู้ด้วยมือเปล่าเน้นให้เห็นลีลาการเคลื่อนไหวที่สง่างามคำว่า “สิละ” บางครั้งเขียนหรือพูดเป็น “ชีละบางท่านบอกว่ารากศัพท์มาจาก “ศิละ” ภาษาสันสกฤต เพราะพื้นที่ที่ศิลปะสิละ อยู่บนดินแดนชวา มลายู และทางตอนใต้ของประเทศไทย อดีตเคยเป็นดินแดนอาณาจักรศรีวิชัย ซึ่งมีวัฒนธรรมอินเดียเป็นแม่บทสำคัญ จึงมีคำสันสกฤตปรากฏอยู่มาก ความหมายเดิมของสิละหมายถึง การต่อสู้ด้วยน้ำใจนักกีฬา ผู้เรียนวิชานี้จึงต้องมีศิลปะ มีวินัย ที่จะนำกลยุทธ์ไปใช่ป้องกันตัว ไม่ใช่ไปทำร้ายผู้อื่นให้ได้รับความเดือดร้อน
จุดประสงค์ของสิละ มุ่งศิลปะการร่ายรำมากกว่าศิลปะการต่อสู้แบบสมจริง การต่อสู้แบบสิละมีมาตั้งแต่ ๔๐๐ ปีมาแล้ว โดยกำเนิดที่เกาะสุมาตรา ชื่อ มูฮันนุดดีนซัมซุดดิน และฮามินนุดดีน ประเภทสิละที่มีในภาคใต้มี ๓ ประเภท สิละยาโต๊ะ คือสิละอาศัยศิลปะการต่อสู้ เมื่อฝ่ายหนึ่งรุก อีกฝ่ายหนึ่งต้องรับ ถ้ารับไม่ได้ก็จะตกไป เรียกว่า ยาโต๊ะ (ตก) สิละราตรี (รำ) คือสิละที่ต่อกรด้วยชำนิชำนาญ ในจังหวะลีลาการร่ายรำ ส่วนมากใช้แสดงเฉพาะหน้าเจ้าเมืองหรือเจ้านายชั้นสูง สิละกายอ (กริช) คือสิละที่ใช้กริชในการร่ายรำไม่ใช่การต่อสู้หลอก ๆ การแต่งกาย มุ่งที่ความสวยงามเป็นประการสำคัญ เช่น มีผ้าโพกศีรษะ สวมเสื้อ หรือคอตั้ง นุ่งกางเกงขายาว มีผ้าโสร่ง เรียกว่า ผ้าซอเกต เครื่องดนตรี ประกอบด้วย กลองยาว ๑ ใบ กลองเล็ก ๑ ใบ ฆ้อง ๑ คู่ และปี่ยาว ๑ เลา ผู้แสดง สิละเป็นการละเล่นของผู้ชาย ก่อนนักสิละลงมือสู้ เริ่มด้วยการที่ทั้งคู่จะทำความเคารพซึ่งกันและกัน เรียกว่ายาบัดตางัน (จับมือ) จากนั้น จึงเริ่มวาดลวดลายตามศิลปะสิละ จะมีท่ากระทืบเท้าให้เกิดเสียง หรือเอาฝามือตบขาของตนเอง เป็นการข่มขวัญปรปักษ์ รำร่อน ไปรอบสังเวียน ก้าวเดินหน้าถอยหลัง ตามจังหวะดนตรี ประหนึ่งเป็นการลองเชิงคู่ต่อสู้ก่อน แล้วต่างหาทางพิชิตคู่ต่อสู้ โดยการหาจังหวะใช้ฝามือฟาดหรือใช้เท้าดันร่างกายฝ่ายตรงข้าม จังหวะการประชิดตัวนั้น เสมือนว่าจะห้ำหั่นกัน ชั่วฟ้าดินสลาย พร้อมกับจังหวะดนตรีโหมจังหวะกระชั้น พลอยให้คนดูระทึกใจ กระบวนชั้นเชิงสิละมีมากมายหลายท่า เช่น ท่าซังคะ ตั้งท่าป้องกัน สังคะดูวา ท่ายืนตรงพร้อมต่อสู้ สังคะตีฆา ท่ายกมือขึ้นป้องกัน คือ มือขวาปิดท้องน้อย แขนซ้ายยกเสมอบ่า สังคะอำปัด ท่าก้าวไปตั้งหลัก "เทศกาลฟื้นย่านชุมชนโบราณเมืองเบตง" จัดขึ้นระหว่างวันที่ 16-18 กรกฎาคม 2567 ณ ลานวัฒนธรรมสัมพันธ์ สวนน้ำ เทศบาลเมืองเบตง อ.เบตง จ.ยะลา ภายในงานมีการแสดงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น การแสดงศิลปะการต่อสู้ของไทยมุสลิมแบบโบราณ การเดินแบบผ้าพื้นถิ่นภายใต้แนวคิด "ยะลา หลาก หลาย"การแสดงวงดนตรีเยาวชน การสาธิตและจำหน่ายช่างฝีมือพื้นบ้าน การสาธิตและจำหน่ายอาหารโบราณ หาทานยาก การจัดนิทรรศการภาพเขียน-ภาพถ่าย เรื่องราววิถีชีวิตชุมชน การเสวนา "วิถีวัฒนธรรมชาวฮากกา" การเสวนา "งานหัตถศิลป์ชายแดนใต้ " การเสวนา "จิบกาแฟ แชร์เรื่องราว เล่าประวัติศาสตร์อเบตง" การสาธิตและจำหน่ายกาแฟท้องถิ่น เป็นต้น