สิละ หรือ ซีละ เป็นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวอย่างหนึ่งของไทยมุสลิม ทำนองเดียวกับคาราเต้ ยูโด กังฟู หรือมวยไทยมุสลิมภาคใต้เรียกว่าการต่อสู้แบบสิละอย่างหนึ่งว่า “ดีกา” หรือ “เบือดีกา” ในพื้นที่จังหวัดสตูล เรียกศิลปะการต่อสู้แบบนี้ ตามความเดิมว่า สิละ และบางพื้นที่เรียกว่า “กายอ” หรือ “กาหยง” ซึ่งเป็นประเภทของสิละที่ใช้ “กริช” ประกอบการร่ายรำ สิละเป็นการต่อสู้ด้วยมือเปล่าเน้นให้เห็นลีลาการเคลื่อนไหวที่สง่างามคำว่า “สิละ” บางครั้งเขียนหรือพูดเป็น “ชีละบางท่านบอกว่ารากศัพท์มาจาก “ศิละ” ภาษาสันสกฤต เพราะพื้นที่ที่ศิลปะสิละ อยู่บนดินแดนชวา มลายู และทางตอนใต้ของประเทศไทย อดีตเคยเป็นดินแดนอาณาจักรศรีวิชัย ซึ่งมีวัฒนธรรมอินเดียเป็นแม่บทสำคัญ จึงมีคำสันสกฤตปรากฏอยู่มาก ความหมายเดิมของสิละหมายถึง การต่อสู้ด้วยน้ำใจนักกีฬา ผู้เรียนวิชานี้จึงต้องมีศิลปะ มีวินัย ที่จะนำกลยุทธ์ไปใช่ป้องกันตัว ไม่ใช่ไปทำร้ายผู้อื่นให้ได้รับความเดือดร้อน
จุดประสงค์ของสิละ มุ่งศิลปะการร่ายรำมากกว่าศิลปะการต่อสู้แบบสมจริง การต่อสู้แบบสิละมีมาตั้งแต่ ๔๐๐ ปีมาแล้ว โดยกำเนิดที่เกาะสุมาตรา ชื่อ มูฮันนุดดีนซัมซุดดิน และฮามินนุดดีน ประเภทสิละที่มีในภาคใต้มี ๓ ประเภท สิละยาโต๊ะ คือสิละอาศัยศิลปะการต่อสู้ เมื่อฝ่ายหนึ่งรุก อีกฝ่ายหนึ่งต้องรับ ถ้ารับไม่ได้ก็จะตกไป เรียกว่า ยาโต๊ะ (ตก) สิละราตรี (รำ) คือสิละที่ต่อกรด้วยชำนิชำนาญ ในจังหวะลีลาการร่ายรำ ส่วนมากใช้แสดงเฉพาะหน้าเจ้าเมืองหรือเจ้านายชั้นสูง สิละกายอ (กริช) คือสิละที่ใช้กริชในการร่ายรำไม่ใช่การต่อสู้หลอก ๆ การแต่งกาย มุ่งที่ความสวยงามเป็นประการสำคัญ เช่น มีผ้าโพกศีรษะ สวมเสื้อ หรือคอตั้ง นุ่งกางเกงขายาว มีผ้าโสร่ง เรียกว่า ผ้าซอเกต เครื่องดนตรี ประกอบด้วย กลองยาว ๑ ใบ กลองเล็ก ๑ ใบ ฆ้อง ๑ คู่ และปี่ยาว ๑ เลา ผู้แสดง สิละเป็นการละเล่นของผู้ชาย ก่อนนักสิละลงมือสู้ เริ่มด้วยการที่ทั้งคู่จะทำความเคารพซึ่งกันและกัน เรียกว่ายาบัดตางัน (จับมือ) จากนั้น จึงเริ่มวาดลวดลายตามศิลปะสิละ จะมีท่ากระทืบเท้าให้เกิดเสียง หรือเอาฝามือตบขาของตนเอง เป็นการข่มขวัญปรปักษ์ รำร่อน ไปรอบสังเวียน ก้าวเดินหน้าถอยหลัง ตามจังหวะดนตรี ประหนึ่งเป็นการลองเชิงคู่ต่อสู้ก่อน แล้วต่างหาทางพิชิตคู่ต่อสู้ โดยการหาจังหวะใช้ฝามือฟาดหรือใช้เท้าดันร่างกายฝ่ายตรงข้าม จังหวะการประชิดตัวนั้น เสมือนว่าจะห้ำหั่นกัน ชั่วฟ้าดินสลาย พร้อมกับจังหวะดนตรีโหมจังหวะกระชั้น พลอยให้คนดูระทึกใจ กระบวนชั้นเชิงสิละมีมากมายหลายท่า เช่น ท่าซังคะ ตั้งท่าป้องกัน สังคะดูวา ท่ายืนตรงพร้อมต่อสู้ สังคะตีฆา ท่ายกมือขึ้นป้องกัน คือ มือขวาปิดท้องน้อย แขนซ้ายยกเสมอบ่า สังคะอำปัด ท่าก้าวไปตั้งหลัก
"เทศกาลฟื้นย่านชุมชนโบราณเมืองเบตง" จัดขึ้นระหว่างวันที่ 16-18 กรกฎาคม 2567 ณ ลานวัฒนธรรมสัมพันธ์ สวนน้ำ เทศบาลเมืองเบตง อ.เบตง จ.ยะลา ภายในงานมีการแสดงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น การแสดงศิลปะการต่อสู้ของไทยมุสลิมแบบโบราณ การเดินแบบผ้าพื้นถิ่นภายใต้แนวคิด "ยะลา หลาก หลาย"การแสดงวงดนตรีเยาวชน การสาธิตและจำหน่ายช่างฝีมือพื้นบ้าน การสาธิตและจำหน่ายอาหารโบราณ หาทานยาก การจัดนิทรรศการภาพเขียน-ภาพถ่าย เรื่องราววิถีชีวิตชุมชน การเสวนา "วิถีวัฒนธรรมชาวฮากกา" การเสวนา "งานหัตถศิลป์ชายแดนใต้ " การเสวนา "จิบกาแฟ แชร์เรื่องราว เล่าประวัติศาสตร์อเบตง" การสาธิตและจำหน่ายกาแฟท้องถิ่น เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น