วันอังคารที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2563

ทริป 6.3 ถ้ำศิลป์ ถ้ำเสือ จังหวัดยะลา ประเทศไทย


   โบราณสถานถ้ำศิลป ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 บ้านบันนังลูวา ตำบลหน้าถ้ำ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ประเทศไทย ประวัติการศึกษาค้นพบเมือ่พ.ศ.2468 โดยหะยีแวกะจิ ฆอรี ได้แจ้งกำนันตำบลหน้าถ้ำว่าได้พบชิ้นส่วนพระพุทธรูปปูนปั้น และชิ้นส่วนภาชนะดินเผาภายในถ้ำ ต่อมาในปี พ.ศ. 2478 ขุนศิลปกรรมพิเศษ(แปลก เจริญสิน)ศึกษาธิการจังหวัดยะลาได้สั่งให้นายถ่อง แก้วนิตย์ ผู้ควบคุมกองลูกเสือโรงเรียนประจำจังหวัดยะลาพาลูกเสือขึ้นไปสำรวจ ขุนศิลปกรรมพิเศษได้ขึ้นไปสำรวจถ้ำในเดือนเดียวกันและพบภาพเขียนสี จึงแจ้งให้กรมศิลปากร ดังนั้นเพื่อเป็นเกียรติแก่กรมศิลปพิเศษ ทางการจึงตั้งชื่อว่า "ถ้ำศิลป"
ถ้ำศิลป ตั้งอยู่ทางทิศใต้บนเขาหินปูน "เขาถ้ำพระนอน" ซึ่งเป็นเขาเดียวกับวัดคูหาภิมุข ห่่างจากแม่น้ำปัตตานีประมาณ 1 กิโลเมตร ถ้ำอยู่สูงจากพื้นดินประมาณ 28.20 เมตร ปากถ้ำหันไปทางทิศตะวันตก มีลักษณะเป็นโถงกว้างขนาด 28 เมตร ยาว 32.70 เมตร พบหลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญ
















    1. ภาพเขียนสี ประกอบด้วยภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ เขียนด้วยสีดำเป็นภาพคนกำลังล่าสัตว์โดยทำท่าเป่าลูกดอกและยิงธนู และภาพเขียนสีสมัยประวัติศาสตร์เขียนด้วยสี แดง ดำ ขาวเป็นภาพเรื่องรางพุทธประวัติและสัญลักษณ์ในพระพุทธศาสนา เช่นภาพหมู่พระพุทธเจ้าประทับนั่งเรียงกัน พุทธประวัติตอนธิดาพญามาร ดวงดารา 8ดวงเป็นต้น โดยมีลักษณะศิลปะที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะศรีวิชัยและสุโขทัย สันนิษฐานว่าเขียนขึ้นครั้งแรกราวพุทธศตวรรษที่ 15 และเขียนเพิ่มเติมอีกครั้งในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19-20
2. หลักฐานจากการขุดค้นทางโบราณคดีในปี พ.ศ.2548 พบหลักฐานที่สำคัญได้แก่ ชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเนื้อดินลายเชือกทาบ ลูกปัดเปลือกหอย เครื่องมือกระดูกสัตว์ปลายแหลม กำหนดอายุอยู่ในช่วงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ยุคหินใหม่ราว 3000ปีมาแล้ว และพบหลักฐานสมัยประวัติศาสตร์เช่น ชิ้นส่วนพระพิมพ์ดินดิบ กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ 14-15 ชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเตาปะโอ เครื่องถ้วยจีน เครื่องถ้วยจากแหล่งเตาสุโขทัยราวพุทธศตวรรษที่ 17-20 เป็นต้น กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนถ้ำศิลปเป็นโบราณสถาน ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่52 ตอนที่75 วันที่ 8 มีนาคม 2478 หน้าที่3695
















ภาพเขียนสีถ้ำศิลปบนผนังทางทิศตะวันตก เขียนเกี่ยวกับเรื่องราวพุทธประวัติ (ประวัติของพระพุทธเจ้า)ใช้สีดำ แดง ขาวในการเขียนภาพ สภาพค่อนข้างลบเลือน ตัวอย่างภาพที่พอมองเห็นในปัจจุบันได้แก่ ภาพหมู่พระพุทธเจ้าและพระสาวกประทับนั่งเรียงกัน ภาพพระพุทธรูปปางสมาธิมีนาคปรก(สันนิษฐานว่าเป็นตอนพระพุทธเจ้าเสวยวิมุติสุขภายหลังการตรัสรู้ โดยมีพญานาคมุจลินทร์แผ่พังพานปกป้องพระพุทธเจ้า) ด้านล่างเป็นภาพขนาดเล็กอาจเป็นภาพของพลมาร ถัดไปเป็นภาพพระพุทธเจ้าปางสมาธิมีธิดามาร 3องค์ได้แก่นางตัณหา นางราคา และนางอรดี(สันนิษฐานว่าเป็นตอนพระพุทธเจ้าผจญมาร) ภาพพระพุทธเจ้าปางประทานอภัยในอริยาบถเดินลีลา ภาพพระพุทธเจ้าปางมารวิชัยบนรัตนบัลลังก์ มีพระสาวกขนาบข้างเป็นต้น โดยภาพมีลักษณะได้รับอิทธิพลจากศิลปะศรีวิชัยและสุโขทัย สันนิษฐานว่าเขียนขึ้นครั้งแรกราวพุทธศตวรรษที่15 และเขียนเพิ่มเติมอีกครั้งในช่วงศตวรรษที่19-20















ภาพเขียนสีถ้ำศิลปบนผนังทางทิศตะวันออก แบ่งภาพออกเป็น2 กลุ่มได้แก่
1. กลุ่มภาพเขียนสีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เขียนด้วยสีดำ แสดงภาพกลุ่มคนกำลังล่าสัตว์หันหน้าไปทางทิศใต้ โดยตรงกลางทำเป็นภาพคนกำลังเป่าลูกดอก คนยืน คนยืนแอ่นท้อง คนยืนโก่งคันธนู ส่วนด้านคนเป่าลูกดอกเป็นภาพคนนั่งขนาดเล็ก 2.กลุ่มภาพเขียนสีสมัยประวัติศาสตร์ เขียนด้วยสีดำ แดง ขาว เป็นภาพเรื่องราวในพุทธประวัติและสัญลักษณ์ในพระพุทธศาสนา สภาพค่อนข้างลบเลือน สามารถมองเห็นเพียงบางส่วนได้แก่ ภาพดวงดาราแปดดวง ภาพคนสองคนนั่งหันหน้าเข้าหากัน ภาพล่างสุดตอนกลางเป็นภาพคนนั่งสามคน เป็นต้น



วันศุกร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2563

เบตง บรรยากาศสุดคึกคัก ต้อนรับนักท่องเที่ยววันหยุดยาว


   เนื่องจากรัฐบาลได้กำหนดวันหยุดยาวระหว่างวันที่ 10-13 ธันวาคม 2563 ทำให้มีนักท่องเที่ยวจำนวนมากได้มาท่องเที่ยวเมืองเบตง ทำให้บรรยากาศเมืองเบตงคึกคัก โดยสถานที่เที่ยวอันดับต้นๆคือ สกายวอล์คเบตง และช่วงเย็นๆค่ำๆ นักท่องเที่ยวจะมาถ่ายรูปบริเวณหอนาฬิกาเบตง ตู้ไปรษณีย์ใหญ่ที่สุดในโลก และอุโมงค์เบตงมงคลฤทธิ์ โดยมีการประดับประดาไฟสวยงามไว้ต้อนรับนักท่องเที่ยว







วันอังคารที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2563

เส้นทางคอกช้าง จังหวัดยะลา


   เส้นทางคอกช้าง จังหวัดยะลา โดยจุดเริ่มต้นที่แยกฆอแย ถ้ามาจากยะลาอยู่เลนซ้ายบนจอประมาณกิโลเมตรที่ 80 เลี้ยวขวาตรงแยกฆอแยใช้เส้นทาง 410หรือ 4363 ไปบ้านคอกช้างระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตรเมื่อถึงบ้านคอกช้างให้ใช้เส้นทาง 3006 ขับไปจนถึงแยก กม.27 จากแยก กม.27เลี้ยวขวาไปเมืองเบตง เลี้ยวซ้ายไปยะลา(เส้นทาง 410) เส้นทางคอกช้างสามารถช่วยร่นระยะเวลาการเดินทางจากยะลา-เบตงหรือจากเมืองเบตง-ยะลาได้ประมาณ 20-30 นาทีโดยประมาณ





วันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2563

เส้นทางท่องเที่ยวทะเลหมอกวัดคอกช้าง น้ำตกคอกช้าง จังหวัดยะลา


   เส้นทางท่องเที่ยวทะเลหมอกวัดคอกช้าง น้ำตกคอกช้าง จังหวัดยะลา โดยจุดเริ่มต้นที่แยก กม.27 ถ้ามาจากเมืองเบตงจะอยู่เลนซ้ายบนจอ เลี้ยวซ้ายใช้เส้นทาง ยล 3006 ระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร โดยผ่านบ้านวังใหม่ ผ่านน้ำตกเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ตอนบน(น้ำตกวังใหม่) ใช้เวลาในการเดินทางถึงวัดคอกช้างประมาณ 30 นาทีจากนั้นเดินเท้าขึ้นไปอีกประมาณ 30 นาทีก็จะถึงจุดชมวิวทะเลหมอกวัดคอกช้าง จัดว่าเป็นทะเลหมอกที่สวยงามอีกแห่งใหม่ น้อยคนที่จะรู้จัก สามารถที่จะพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้
















หลังจากชมวิวทะเลหมอกวัดคอกช้างเสร็จแล้วก็เดินทางต่อไปยังน้ำตกคอกช้าง ระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 8 นาทีโดยประมาณจัดเป็นน้ำตกที่อยู่ใกล้ชุมชนคอกช้างไว้สำหรับเป็นที่พักผ่อนในช่วงวันหยุด เสาร์-อาทิตย์ได้เป็นอย่างดี



วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

เส้นทางท่องเที่ยวอุโมงค์ปิยะมิตร-จุดชมวิวทะเลหมอกปิยะมิตร-สวนดอกไม้เบตง(...


   เส้นทางท่องเที่ยวอุโมงค์ปิยะมิตร-จุดชมวิวทะเลหมอกปิยะมิตร-สวนดอกไม้เบตง(สายบน) โดยจุดเริ่มต้นที่อนุสรณ์สถานบ้านปิยะมิตร ผ่านอุโมงค์ปิยะมิตร ไปยังสวนดอกไม้โดยใช้เส้นทางสายบนคือเส้นทางที่มีความสูงชัน และคดเคี้ยว แต่เป็นเส้นทางที่มองเห็นภูเขา ทะเลหมอกมีวิวธรรมชาติที่สวยงาม จะแนะนำจุดชมวิวทะเลหมอกปิยะมิตรและจุดชมวิวสวนดอกไม้ให้ได้รู้จักกัน




















วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

อนุสรณ์สถานบ้านปิยะมิตร 2020


   อนุสรณ์สถานบ้านปิยะมิตร เพื่อเป็นการระลึกถึงภารกิจอันเรืองโรจน์ของวีรชนรุ่นก่อน และเพื่อวิญญาณของท่านไปสู่สุคติ จึงขอสร้างสวนสุสานวีรชนแห่งนี้ไว้เป็นอนุสรณ์สถาน เพื่อแสดงความรำลึกถึงเป็นสักขีพยานและหลักฐานแห่งประวัติศาสตร์ของเมืองเบตง
















อนุสรณ์สถานบ้านปิยะมิตร ตั้งอยู่ ที่หมู่บ้านปิยะมิตร 1หมู่ที่ 2 ต.ตาเนาะแมเราะ อ.เบตง จ.ยะลา อนุสรณ์สถานเหล่านักรบพรรคคอมมิวนิสต์มลายา บ้านปิยะมิตรแห่งนี้ เป็นอนุสรณ์สถานแห่งที่ 2 ถัดจากแห่งแรกที่ หมู่บ้านจุฬาภรณ์ 10 ต.อัยเยอร์เวง อ.เบตง จ.ยะลา ซึ่งอนุสรณ์ทั้ง 2 แห่งได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นการรำลึกถึงวีรบุรุษที่ยืนหยัดในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของประชาชาติ ในช่วงที่ดำรงชีวิตอยู่ในประเทศไทย





วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

พิพิธภัณฑ์กาแป๊ะกอตอหรือศูนย์การเรียนรู้วัฒนธรรมชุมชนเมืองเก่า


   พิพิธภัณฑ์กาแป๊ะกอตอหรือศูนย์การเรียนรู้วัฒนธรรมชุมชนเมืองเก่า ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 73/1 หมู่ 2 บ้านกาแป๊ะกอตอ ตำบลเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
กาแป๊ะกอตอนั้นมาจากคำในภาษายาวี 2คำคือ กาแป๊ะซึ่งหมายถึง ต้นไม้ใหญ่ และกอตอ แปลว่าวังหรือปราสาทที่ประทับ
















พิพิธภัณฑ์กาแป๊ะกอตอหรือศูนย์การเรียนรู้วัฒนธรรมชุมชนเมืองเก่า เป็นการรวบรวมโบราณวัตถุ ข้าวของเครื่องใช้ เครื่องปั้นดินเผา มีด กริช และเครื่องดนตรีพื้นบ้านมาแสดงไว้
เวลาเปิดให้เข้าชม วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 9:00-17:00 หยุด วันเสาร์ วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์