วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

สตรีทอาร์ต ยะลา Bird City Street Art ใต้สะพานดำ (สะพานรถไฟยะลา)


   สตรีทอาร์ต ยะลา Bird City Street Art ใต้สะพานดำ (สะพานรถไฟยะลา) จุดเริ่มต้นที่แยกโรงพยาบาลยะลา ไปตามเส้นทางถนนสิโรรส แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าถนนนวลสกุล จุดที่2บริเวณใต้สะพานดำ(สะพานรถไฟยะลา)
    “Bird City Street Art” สตรีทอาร์ตแห่งเมืองยะลา สาเหตุที่ใช้คำว่า Bird City นั่นก็เพราะว่ายะลาถือเป็นเมืองแห่งนก มีประวัติศาสตร์การเลี้ยงนกมานับพันปี จนมาถึงปัจจุบันก็ยังนิยมเลี้ยงนกกันอยู่จนกลายเป็นวัฒนธรรมเฉพาะถิ่น โดยเฉพาะนกกรงหัวจุกและนกเขายะลา เลี้ยงนกจนกลายเป็นสัตว์เศรษฐกิจ มีธุรกิจเกี่ยวกับนกแบบครบวงจร และยังมีการจัดการแข่งขันระดับนานาชาติ สำหรับภาพสตรีทอาร์ตในเมืองยะลา จะอยู่ในบริเวณถนนนวลสกุล ภายใต้แนวคิดเสพศิลป์ ถิ่นบินหลา โดยมีศิลปินสตรีทอาร์ตชื่อดังหลายคนมาร่วมสร้างสรรค์ผลงานศิลปะลงบนฝาผนัง ซึ่งปัจจุบันมีผลงานสตรีทอาร์ตทั้งหมด 14 จุด สามารถเดินชมต่อเนื่องกันได้อย่างสะดวก



















สตรีทอาร์ตใต้สะพานดำ (สะพานรถไฟ ยะลา) “ดอกไม้งามปาตานีกับโยคีแห่งพระนคร” สาเหตุที่ได้ตั้งชื่อผลงานดังกล่าว ต้องการสื่อถึงความเป็นหนึ่งเดียว ความเข้มแข็ง และความงาม โดยภาพที่วาดนั้นประกอบด้วยช้างซึ่งวาดเพียงแค่ส่วนหัวเท่านั้น ความหมายของช้างสื่อถึงเอกลักษณ์ของความเป็นไทย ซึ่งช้างเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองเรา อีกอย่าง จ.ยะลา ก็มีช้างเป็นสัตว์คู่เมืองยะลาเช่นกัน อย่างที่เรารู้จักกันดีถึงที่มาของอาคารพระเศวตสุรคชาธาร หรือสนามโรงพิธีช้างเผือกยะลา และในส่วนของดอกไม้ที่ต่อจากส่วนหัวของช้างนั้น เป็นลวดลายของดอกพันธุ์พฤกษาหรือเรียกว่า บูงอปัตตานี ดอกไม้ที่อยู่ในพื้นที่ชายแดนใต้ บ่งบอกถึงความงดงาม บนความเข้มแข็ง สะท้อนอัตลักษณ์ของพื้นที่ชายแดนใต้บ้านเราได้เป็นอย่างดี





วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

ทริปห้า สะพานยีลาปัน น้ำตกสุขทาลัย จังหวัดยะลา


   ทริปที่ห้า สะพานยีลาปัน น้ำตกสุขทาลัย จังหวัดยะลาบนเส้นทาง 410 เบตง-ยะลา ต่อเนื่องจากทริปที่สี่ที่ไปเที่ยวเขื่อนบางลาง โดยให้จุดเริ่มต้นที่เขื่อนบางลาง จุดมุ่งหมายคือสะพานยีลาปัน
สะพานยีลาปัน เป็นอนุสรณ์สะพานโบราณข้ามแม่น้ำปัตตานี ตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 410 เบตง-ยะลา ได้มีการก่อสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2484 หลังสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 มาราว 10 ปี เป็นสะพานเหล็กที่มีฐานเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก มีความยาว 239 เมตร กว้าง 6 เมตร ขณะดำเนินการก่อสร้างเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา โดยใช้ระยะเวลาก่อสร้างนานกว่า 10 ปี และได้ตั้งชื่อว่า “สะพานหงสกุล” เพื่อเป็นเกียรติประวัติแก่นายถวัลย์ หงสกุล นายช่างแขวงการทางยะลา ซึ่งสะพานแห่งนี้ได้มีการซ่อมแซมบำรุงถึง 2 ครั้ง โดยล่าสุด ได้มีการเสริมพื้นสะพานให้เป็นเหล็กรางผึ้งทั้งหมด เพื่อให้เกิดความคงทนถาวร




















สะพานยีลาปันก็คือน้ำตกสุขทาลัย น้ำตกสุขทาลัย ตั้งอยู่ในบริเวณนิคมสร้างตนเองพัฒนาภาคใต้ (กือลอง) ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลาจากตัวจังหวัดยะลาไปทางถนนสายยะลา - เบตง และมีทางแยกจากถนนใหญ่เข้าไปอีกประมาณ ๘ กิโลเมตร





วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

ทริป 6.2 เที่ยวถ้ำมืด สระแก้วแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ จังหวัดยะลา


   ทริป 6.2 เที่ยวถ้ำมืดและสระแก้วแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ จังหวัดยะลา ชมความสวยงาม ของหินงอกหินย้อย ซึ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ อายุหลายร้อยปี พร้อมมีมัคคุเทศก์เยาวชนรอให้การต้อนรับ ภายในถ้ำยังคงความสวยงมของหินงอกหินย้อย ทั้ง หินระฆัง หินหัวช้าง หินรูปเม็ดมะม่วงหิมมะพานต์ หลุมแม่ม่าย สระแก้ว(บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์) และต่างๆอีกมากมาย
สระแก้ว บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ น้ำในสระแก้วจะใสสะอาดและเย็น เชื่อกันว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ ชาวบ้านและนักท่องเที่ยวมักจะนำน้ำจากสระแก้วมาปะพรมบนศรีษะเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตัวเอง นำน้ำจากสระแก้วไปทำพิธีปลุกเสกเป็นน้ำพระพุทธมนต์ ผสมกับน้ำศักดิ์สิทธิ์จังหวัดอื่นๆ สำหรับเป็นน้ำอภิเษกหรือน้ำมุรธาภิเษกด้วย




















ควรสวมใส่รองเท้าผ้าใบ เนื่องจากภายในถ้ำนั้นจะเป็นพื้นดินชุ่มน้ำจะทำให้เกิดการลื่น อีกทั้งควรพกพาไฟฉายหรืออุปกรณ์ไฟส่องสว่างที่มีความสว่างพอสมควรติดตัวมาด้วย เพื่อจะได้ชมความงดงามภายในถ้ำมิดได้ทุกซอกทุกมุม

วันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

ทริป 6.1 หอวัฒนธรรมศรีวิชัย วิหารหลวงพ่อเจ้าคุณพุทธไสยารักษ์ จังหวัดยะลา


   ทริป 6.1 หอวัฒนธรรมศรีวิชัย วิหารหลวงพ่อเจ้าคุณพุทธไสยารักษ์ จังหวัดยะลา เป็นทริปต่อเนื่องจากวัดคูหาภิมุขหรือวัดถ้ำยะลา
พิพิธภัณฑ์ศรีวิชัย ตั้งอยู่ภายในบริเวณวัดคูหาภิมุข มีวัตถุโบราณที่ขุดค้นได้จากถ้ำต่างๆ ในตำบลหน้าถ้ำ ได้แก่ ภูเขาวัดถ้ำ ภูเขากำปั่น กรมศิลปากรค้นพบพระพิมพ์ดินดิบ สมัยศรีวิชัย สถูป เม็ดพระศก อิฐฐานพระพุทธรูป ขวานหินขัด และบริเวณสนามบินท่าสาป ได้ค้นพบโคกอิฐ เนินดิน ซากกำแพงเมืองโบราณ เครื่องถ้วยชาม เทวรูปพระนารายณ์สำริด สูงประมาณ 1 ศอก (0.5 เมตร) พระพุทธรูปแกะสลักในแผ่นหินมีสภาพสมบูรณ์ จำนวน 3 องค์ กว้าง 21.50 เซนติเมตร สูง 30 เซนติเมตร สลักเป็นรูปนูนต่ำ รูปพระพุทธเจ้าประทับนั่ง ปางสมาธิ อีกองค์หนึ่งชำรุดครึ่งหนึ่ง มีแร่พระเศียร พระพุทธรูปสมัยศรีวิชัย สมัยสุโขทัย สมัยอู่ทอง








วันพฤหัสบดีที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2563

วัดคูหาภิมุขหรือวัดหน้าถ้ำ จังหวัดยะลา


   ทริปนี้เป็นทริปที่6 แล้วต่อจากทริปที่5ที่ไปเที่ยวสะพานยีลาปันและน้ำตกสุขทาลัย โดยจุดเริ่มต้นที่น้ำตกสุขทาลัย ขับออกมาจากน้ำตกสุขทาลัยจนถึงปากทาง ใช้เส้นทาง410 ยะลา ไปจนถึงแยกพงยือไรเลี้ยวซ้ายจนถึงแยกมลายูบางกอกเลี้ยวซ้ายเข้าถนนสาย15 จนถึงห้าแยกสะเตงเลี้ยวขวาเข้าถนนสิโรรสสาย2 จนถึงสี่แยกโรงพยาบาลยะลาให้เลี้ยวซ้ายเข้าถนนหมายเลข 409 ข้ามสะพานท่าสาบเข้าช่องโคกโพธิ์-สะบ้าย้อย ตรงไป2ไฟแดงผ่านสามแยกเตาปูนขับไปถึงแยกไฟแดงให้เลี้ยวซ้ายเข้าวัดคูหาภิมุข

วัดคูหาภิมุข หรือ วัดหน้าถ้ำ ตั้งอยู่เลขที่ 136 หมู่ 1 บ้านหน้าถ้ำ ตำบลหน้าถ้ำ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา ในปีพ.ศ. 2390 ผู้ใหญ่บ้านอาศัยอยู่ที่บ้านหน้าถ้ำ ได้สร้างวัดคูหาภิมุขเพื่อประกอบพิธีบำเพ็ญกุศลในหมู่บ้าน ภายในวัดคูหาภิมุขมีถ้ำใหญ่ ประดิษฐาน พระพุทธไสยาสน์ขนาดใหญ่ ภายในถ้ำ ยังมีหินงอกหินย้อย และน้ำใสสะอาดไหลริน จากโขดหิน
วัดคูหาภิมุข เป็นวัดที่สำคัญของเมืองยะลา มีพิพิธภัณฑ์ศรีวิชัย เก็บวัตถุโบราณที่ได้มาจาก วัดถ้ำ ภูเขากำปั่น พระพิมพ์ดินดิบ สถูปเม็ดพระศก อิฐฐานพระพุทธรูป จอมพลแปลก พิบูลสงคราม เปลี่ยนชื่อ "วัดหน้าถ้ำ" เป็น "วัดคูหาภิมุข"



















พระพุทธไสยาสน์(พ่อท่านบรรทม) เป็นพระพุทธรูปปางไสยาสน์ขนาดใหญ่ปั้นด้วยดินเหนียวโดยใช้ไม่ไผ่เป็นโครง สร้างขึ้นสมัยศรีวิชัยรุ่งเรืองราว พ.ศ. 1300หรือสมัยเดียวกับพระบรมธาตุเมืองนคร มีขนาดความยาว 81 ฟุต 1 นิ้ว ประดิษฐาน ภายในถ้ำคูหาภิมุข เดิมชื่อ วัดหน้าถ้ำ กรมศิลปากรขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 ลงวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2478 วัดคูหาภิมุข มีพระพุทธรูป สมัยศรีวิชัย สมัยสุโขทัย สมัยอู่ทอง
















ยักษ์หน้าถ้ำคูหาภิมุขหรือพ่อท่านเจ้าเขา มีรูปร่างคล้ายคนป่าเผ่าซาไก ตัวดำผมหยิก ไว้หนาวเครารุงรัง มีเขี้ยวงอกออกมาพันริมฝีปาก มือทั้งสองจับไม้กระบองที่มีหัวกะโหลกเป็นมนุษย์ มีงูจงอางเป็นสายสร้อยคล้องคอ มีหน้าที่เฝ้าหน้าถ้ำคูหาภิมุข มิให้ผู้ใดเข้ามาขโมยทรัพย์สมบัติภายในถ้ำ




วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2563

ทริปสี่ เขื่อนบางลาง จังหวัดยะลา เส้นทางหลวงหมายเลข 410 BANG LANG DAM Yala Province Thailand


   ทริปนี้เป็นทริปที่ 4 แล้วต่อจากทริป 3 ที่ไปเที่ยวถ้ำกระแชง แล้วเราก็เดินทางต่อไปยังเขื่อนบางลาง โดยออกจากถ้ำกระแชงไปใช้เส้นทาง 410 ขับมาจะเห็นป้ายขนาดใหญ่ ตรงปากทางเข้าเขื่อนบางลาง จากปากทางเข้าไปประมาณ 12 กิโลเมตร

















เขื่อนบางลาง ตั้งอยู่ที่ 33 หมู่ 1 ตำบลเขื่อนบางลาง อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา 95130 ประเทศไทย
ลักษณะเขื่อน เขื่อนบางลาง กั้นแม่น้ำปัตตานีที่บริเวณบ้านบางลาง ตำบลเขื่อนบางลาง อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา ห่างจากตัวอำเภอเมืองยะลา 58 กิโลเมตร ตัวเขื่อนเป็นเขื่อนหินถมแกนดินเหนียว มีความสูง 85 เมตร สันเขื่อนยาว 430 เมตร กว้าง 10 เมตร อ่างเก็บน้ำมีความจุ 1,420 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่รับน้ำเหนือเขื่อน 2,080 ตารางกิโลเมตร




















โครงการโรงไฟฟ้าเขื่อนบางลางนับเป็นโครงการอเนกประสงค์แห่งหนึ่งตามแผนพัฒนาลุ่มน้ำปัตตานี โครงการนี้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้เข้ามาดำเนินการสำรวจและรวบรวมข้อมูลต่างๆเพิ่มเติม เพื่อใช้ประกอบการออกแบบงานด้านวิศวกรรมศาสตร์เรื่อยมา โดยให้สอดคล้องกับความต้องการใช้ไฟฟ้าในภูมิภาคส่วนนี้ เขื่อนบางลาง เริ่มดำเนินการก่อสร้างมาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2519 แล้วเสร็จเดือนมิถุนายน 2524 เขื่อนบางลาง เป็นเขื่อนอเนกประสงค์แห่งแรกของภาคใต้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนิน พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงประกอบพิธีเปิดเขื่อน เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2524






















วันเสาร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2563

เที่ยวเบตง น้ำตกเฉลิมพระเกียรติ ร.9 (ตอนบน) หรือน้ำตกวังใหม่


   เที่ยวเบตง (ตอนบน) หรือน้ำตกวังใหม่ ตั้งอยู่ที่ หมู่ 5 บ้านวังใหม่ ตำบลอัยเยอร์เวง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา จริงๆแล้วน้ำตกเฉลิมพระเกียรติ ร.9 มีอยู่ด้วยกัน 2 ที่คือน้ำตกเฉลิมพระเกียรติ ร.9 (ตอนล่าง บ้าน กม.32) กับน้ำตกเฉลิมพระเกียรติ ร.9(ตอนบน น้ำตกวังใหม่)
จุดเริ่มต้นที่ทะเลหมอกอัยเยอร์เวง ณ.เขาไมโครเวฟ ขับไปจนถึงสี่แยกแล้วตรงไปใช้เส้นทางบ้านวังใหม่ จากปากทางเข้าไปยังน้ำตกเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ประมาณ 900 เมตร