เส้นทางท่องเที่ยวสนามบินเบตง หรือที่เรียกกันว่าสนามบินไม้ไผ่ โดยใช้ไม้ไผ่ในการตกแต่ง เพื่อเป็นเอกลักษณ์ของเบตง จุดเริ่มต้นที่อุโมงค์เบตงตรงรูปปั้นไก่เบตง ลงมายังหอนาฬิกาเบตงแล้วเลี้ยวขวา ใช้เส้นทาง ทล 4062,4326 ระยะทางประมาณ 13 กิโลเมตร
สาระ บันเทิง การท่องเที่ยว กิจกรรมทั่วไปเกี่ยวกับเรื่องรอบตัวเรา และเกล็ดเล็กเกล็ดน้อยของเมืองเบตง สถานที่ต่างๆที่เคยไปมา อาหารการกินของคนท้องถิ่น เผยแพร่เรื่องราวต่างๆในมุมมองของชีวิตผ่านสายตาของท่านผู้ชมทุกคน กับเรื่องราวต่างๆที่ได้ถ่ายทอดออกมาซึ่งอาจมีประโยชน์ด้านข่าวสารและเป็นประสบการณ์ความทรงจำของชีวิตเรา
วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
วันเสาร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
สนามบินเบตง BETONG INTERNATIONAL AIRPORT
สนามบินเบตง BETONG INTERNATIONAL AIRPORT
ท่าอากาศยานนานาชาติเบตง หรือสนามบินเบตง BETONG INTERNATIONAL AIRPORT ตั้งอยู่ที่ ตำบลยะรม อำเภอเบตง จังหวัดยะลา อยู่ห่างจากตัวเมืองเบตงไปทางทิศเหนือ ประมาณ 12 กิโลเมตร มีขนาดพื้นที่ 920 ไร่ ดำเนินโครงการก่อสร้างท่าอากาศยานเบตง ในวงเงิน 1,900 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 ปี (2559 – 2562)
จุดประสงค์ เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาการคมนาคมในพื้นที่อำเภอเบตงที่มีสภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงชันไม่สะดวกต่อการเดินทาง และเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการพัฒนาเศรษฐกิจและความมั่นคงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม การเมือง และจะทำให้การคมนาคมขนส่งภายในจังหวัดยะลา และการเชื่อมต่อสู่ประเทศมาเลเซียที่ด่านเบตงและพื้นที่ใกล้เคียงจะสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น
-อาคารที่พักผู้โดยสารเป็นอาคาร 2 ชั้น มีพื้นที่ 7,000 ตารางเมตร สามารถรองรับผู้โดยสารในชั่วโมงเร่งด่วนได้ 300 คนต่อชั่วโมง และรองรับผู้โดยสารได้ 876,000 คนต่อปี
-เมื่อวันที่ 4 ก.ค.63 หลังจากมาตรการผ่อนคลาย ระยะที่ 5 ที่ท่าอากาศยานนานาชาติเบตง ต.ยะรม อ.เบตง จ.ยะลา ได้เปิดให้พี่น้องชาวอำเภอเบตง และนักท่องเที่ยวทั่วประเทศ ใช้เวลาช่วงวันหยุด มาเที่ยวชมสถาปัตยกรรมของอาคารท่าอากาศยานนานาชาติเบตง ที่ตกแต่งด้วยไม้ไผ่ สะท้อนเอกลักษณ์ท้องถิ่น ซึ่งคำว่า "เบตง" หรือ “บือตง” เป็นภาษาถิ่นมลายู แปลว่า "ไม้ไผ่" กลายเป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่ของอำเภอเบตง
วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
ทุเรียนโอวฉี่หนามดำ(Blackthom) อ.เบตง จ.ยะลา Betong Thailand
ทุเรียนโอวฉีหรือเรียกว่าหนามดำ (Blackthorn) ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมไม่แพ้สายพันธุ์มูซังคิง
วันศุกร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
ปลานิลเบตง ปลานิลสายน้ำไหล
เดิมทีชาวบ้าน หมู่บ้านบ่อน้ำร้อน ยึดอาชีพการทำสวนยางและสวนผลไม้เป็นอาชีพหลักเพียงอย่างเดียว จึงมีผู้ริเริ่มหาอาชีพเสริม เริ่มแรกได้ทดลองเลี้ยงปลานิลและปลาจีน ต่อมาภาครัฐได้มาส่งเสริมเลี้ยงปลาพวงชมพู แต่ปรากฏว่าการเลี้ยงปลานิลมีความต้องการตลาดสูง จึงมีการรวมกลุ่มกันเลี้ยงปลานิลเบตงในสายน้ำไหล
ซึ้งต้องเลี้ยงในน้ำที่มีการไหลผ่านต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง และอุณหภูมิของน้ำเฉลี่ยไม่เกิน 24 องศาตลอดทั้งปี ทำให้ได้เปรียบในเรื่องคุณภาพ เนื้อปลานิลแน่น รสขาติดีไม่มีกลิ่นคาว ไม่เหม็นกลิ่นดินโคลน ทำใไห้ขายได้ราคา เป็นที่ต้องการของตลาดค่อนข้างสูง จึงเกิดการร่วมมือกันพัฒนาการเลี้ยงและการตลาด ทำให้เกิดการพัฒนาชุมชนอย่างเข้มแข็ง เป็นชื่อของหมู่บ้านปลา
นอกจากบ่อปลานิลสายน้ำไหลแล้ว ยังเปิดบริการร้านอาหารที่ใช้วัตถุดิบปลานิลสายน้ำไหลเป็นเมนูให้ลองชิมรสชาติของปลานิลแบบสดๆจากบ่อกันเลย
เนื้อปลานิลแน่น รสขาติดีไม่มีกลิ่นคาว ไม่เหม็นกลิ่นดินโคลน โดยเฉพาะปลานิลนึ่งซีอิ้ว รับรองไม่ผิดหวัง
วันพฤหัสบดีที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563
วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)