สีมายา พัสตราภรณ์ เป็นการแสดงนาฎศิลป์พึ้นเมืองของภาคใต้ ที่สืบเนื่องมาจาก เอา"ดินมายา"มาจากภูเขา"วัดถ้ำ" ซึ่งเป็นลักษณะดินเฉพาะสีโทนอิฐจากธรรมชาติ กระบวนในการย้อมผ้า การทำลายผ้าของชาวบ้านในตำบลนาคำ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา
ชุมชนตำบลหน้าถ้ำอำเภอเมืองจังหวัดยะลา เป็นชุมชนที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติ ประเพณี วัฒนธรรม ภูมิปัญญา อาหาร ผลไม้และมีประวัติศาสตร์อันยาวนานของพระพุทธไสยาสน์ ที่ประดิษฐานอยู่ภายใน“วัดคูหาภิมุข” หรือ “วัดหน้าถ้ำ” ซึ่งมีจิตรกรรมฝาผนังถ้ำศิลป์อายุมากกว่าหนึ่งพันปี เหมาะกับการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เชิงวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ทำให้ในปี พ.ศ.2558 เกิดการรวมตัวกันของชุมชนเป็น กลุ่มสีมายา เพื่อที่จะส่งเสริมวัฒนธรรมพื้นเมือง และร่วมกันผลิตของฝากจากจังหวัดยะลาซึ่งไม่เคยมีมาก่อนในแถบนั้นสอดคล้องกับที่ ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราชหน้าถ้ำและวิทยาลัยชุมชนยะลา ได้จัดทำประชาคมการท่องเที่ยวชุมชมขึ้น เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2558 ชุมชนเห็นพ้องกันว่า จะนำเรื่องราวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอันเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีเอกลักษณ์ มาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์โดยใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติที่หาได้ในท้องถิ่น อย่าง “ดินมายา” ซึ่งมีลักษณะจำเพาะมาเป็นสีมัดย้อมบนผืนผ้าเกิดเป็นผลิตภัณฑ์จากแบรนด์สีมายามากมาย อาทิ ผ้าคลุมไหล่ ผ้าพันคอ ผ้าชิ้นลวดลายวัฒนธรรม ผ้าคลุมอเนกประสงค์ ผ้าเช็ดหน้า(เล็ก/ใหญ่) กระเป๋าแฟชั่น กระเป๋าฟักทอง กระเป๋าลายถ้ำศิลป์ กระเป๋าสับปะรด กระเป๋าอเนกประสงค์ กระเป๋าโยคะ กระเป๋าลดโลกร้อน เป็นต้น
นอกจากดินมายาจะนำมาใช้ประโยชน์เป็นสีของผ้ามัดย้อมแล้ว ทางกลุ่มสีมายายังได้ริเริ่มขยายผลิตภัณฑ์จากดินมายาสู่การทำ “ไข่เค็มดินมายา” ด้วยการใช้ภูมิปัญญาของชุมชน นำไข่มาคลุกเคล้ากับดินมายาที่ผสมกับเกลือและขี้เถ้า หมักเก็บไว้เจ็ดวัน จนได้ไข่เค็มที่รสชาติกลมกล่อมเหมาะเป็นของฝากที่มีเฉพาะที่ตำบลหน้าถ้ำเท่านั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น