เส้นทางท่องเที่ยวเมืองเบตง ป้ายจับยี่ลุ้ย หลักเขต 53สยามเปรัค หลักเขตจำลอง54A เส้นทางนี้เป็นอีกหนึ่งเส้นทางที่สามารถไปยังหลักเขต 53 สยาม-เปรัค และหลักเขตจำลอง 54A โดยจุดเริ่มต้นที่เมืองเบตง ใช้เส้นทางหลวงชนบท ยล.5020 เลี้ยวขวาตรงบ้านจับยี่ลุ้ย ขับไปจนถึงแยกถนนหมายเลข 4244 เลี้ยวซ้าย ตรงแยกนี้จะอยู่ใกล้กับ หลักเขต 53 สยาม-เปรัค จากนั้นใช้เส้นทางหมายเลข 4244 (ถนนพรมแดน) ขับไปจนถีงหลักเขตจำลอง 54A
สาระ บันเทิง การท่องเที่ยว กิจกรรมทั่วไปเกี่ยวกับเรื่องรอบตัวเรา และเกล็ดเล็กเกล็ดน้อยของเมืองเบตง สถานที่ต่างๆที่เคยไปมา อาหารการกินของคนท้องถิ่น เผยแพร่เรื่องราวต่างๆในมุมมองของชีวิตผ่านสายตาของท่านผู้ชมทุกคน กับเรื่องราวต่างๆที่ได้ถ่ายทอดออกมาซึ่งอาจมีประโยชน์ด้านข่าวสารและเป็นประสบการณ์ความทรงจำของชีวิตเรา
วันจันทร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2564
วันศุกร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2564
ป้ายจับยี่ลุ้ย (12 สตางค์)
ป้ายจับยี่ลุ้ย เป็นป้ายบอกทางและป้ายบอกหลักเขต 53 ใต้สุดแดนสยาม ว่ากันว่าป้ายบอกทางและหลัดเขตที่เก่าแก่ที่สุด ป้ายจุบยี่ลุ้ยถือว่าเป็นป้ายที่สวยงาม ควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้
ป้ายจับยี่ลุ้ย ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่2 ตำบลธารน้ำทิพย์ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ได้ทีการปรับปรุงป้ายจับยี่ลุ้ยใหม่ เพราะของเก่ามีสภาพทรุดโทรม ใช้งบประมาณในการซ่อมแซม 125,300 บาท
จับยี่ลุ้ยแปลว่า 12 สตางค์ มาจากค่าอัตรารถยนต์โดยสารรับจ้างจากตัวเมืองเบตงมาถึงป้ายจับยี่ลุ้ยบริเวณดังกล่าว จับยี่ลุ้ย (12 สตางค์)เป็นป้ายเก่าที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นจุดขึ้น-ลง รถโดยสารเข้าไปในตัวเมืองเบตง ปัจจุปันเป็นจุดถ่ายรูปและแหล่งท่องเที่ยวของตำบลธารน้ำทิพย์ อำเภอเบตง จังหวัดยะลาวันจันทร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2564
เส้นทางสนามบินเบตง - เมืองเบตง 2021
เส้นทางสนามบินเบตง - เมืองเบตง 2021 เป็นเส้นทางล่าสุดของปี 2021 โดยจุดเริ่มที่สนามบินไม้ไผ่ ออกจากสนามบินเลี้ยวขวาใช้เส้นทางหลวงชนบท ยล 3026 พอถึง 3 แยกให้เลี้ยวขวาใช้เส้นทางหมายเลข 4326,4062 ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 15 นาที
วันเสาร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2564
วัดพุทธาธิวาส พระอารามหลวงชั้นตรี อ.เบตง จ.ยะลา
วัดเบตงคือชื่อเดิมของวัดพุทธาธิวาส ได้รับอนุญาติให้สร้างเมื่อปี พ.ศ.2460 โดยมีคณะผู้ริเริ่มดำเนินการสร้างคือพระพิทักษ์ธานี (เล็ก) นายอำเภอเบตง นายพุ่ม คชฤทธิ์ นายกิมซุ้ย ฟุ้งเสถียร และนายผล สุภาพ ต่อมาเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2496 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา มีเขตวิสุงคามสีมากว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร และได้ผูกพัทธสีมา เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ.2510 วัดแห่งนี้ตั้งเด่นสง่าอยู่บนเนินเขาที่ลาดเอียงลงมาจดถนนรัตนกิจด้านทิศเหนือ มีเนื้อที่ 23 ไร่ 3 งาน 30ตารางวา โดดเด่นด้านศิลปะการจัดวางสถาปัตยกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพระพุทธธรรมกายมงคล ปยุรเกศานนท์สุพพิธาน พระมหาธาตุเจดีย์ พระพุทธธรรมประกาศ อุโบสถ ศาลาการเปรียญ หรีอกุฎิ ได้อย่างมีชั้นเชิงและเหมาะสมตามสภาพความลาดเอียง ซึ่งเป็นความตั้งใจที่จะจัดวางสถาปัตยกรรมเหล่านี้ให้ลดหลั่นกันดังที่เห็น ปัจจุบันวัดพุทธาธิวาสเป็นที่ประดิษฐานของพระมหาธาตุเจดีย์ พระพุทธธรรมประกาศ พระพุทธธรรมกายมงคล ปยุรเกศานนนท์สุพพิธาน และวิหารหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด
พระพุทธธรรมกายมงคล ปยุรเกศานนนท์สุพพิธาน เป็นพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ ปางพระธรรมกาย ขนาดหน้าตักกว้าง 9เมตร 9เซนติเมตร สูง 14 เมตร 39 เซนติเมตร พระวรกายมีความหนา 8 เมตร 36 เซนติเมตร มีพระศก 356 องค์ ฐานบัวคว่ำบัวหงาย กว้าง 13 เมตร 6เซนติเมตร มีกลีบดอกบัว 29 คู่
พระมหาธาตุเจดีย์ พระพุทธธรรมประกาศ ตั้งอยู่ในวัดพุทธาธิวาส นับเป็นปูชนียสถานแห่งหนึ่งที่มีความสวยงามแบบศิลปะศรีวิชัยประยุกต์ ที่ใหญ่ที่สุดในภาคใต้ด้วยมีขนาดความกว้าง 39 เมตร สูง 39.9 เมตร วัตถุประสงค์ของการสร้างเจดีย์องค์นี้เพื่อถวายเป็นราชกุศลและเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ.2535 โดยมีนายสวัสดิ์ โชคติพานิช ประธารศาลฎีกาในขณะนั้น เป็นผู้ริเริ่มการก่อสร้างและพระอาจารย์ ม.ร.ว. มิตรารุณ เกษมศรี สถาปนิกพระราชวัง ศิลปินแห่งชาติ สาขาสถาปัตยกรรมไทยเป็นผู้ออกแบบ
ชื่อพระมหาธาตุเจดีย์พระพุทธธรรมประกาศ ซึ่งมีความหมายว่าพระพุทธเจ้าทรงประกาศเป็นชื่อของเจดีย์แบบศรีวิชัยประยุกต์องค์นี้ ซึ่งไม่ว่าจะมองจากจุดไหนของเบตงก็จะเห็นตั้งเด่นสง่าอยู่บนยอดเขาบริเวณวัดพุทธาธิวาส ปลายยอดเจดีย์ส่องแสงสีทองประกายระยิบรยับยามเมื่อต้องแสงอาทิตย์ ดูแล้วโดดเด่นสวยงามมาก ภายในเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้ให้พุทธศาสนิกชนได้สักการะบูชา
หลวงปู่ทวดนิ้วกระดก ถูกสร้างขึ้นครั้งแรกที่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา โดยจำลองแบบพิมพ์เหมือนหลวงพ่อทวด องค์ดั้งเดิม ที่ประดิษฐานอยู่ภายในวิหารหลวงพ่อทวด วัดพุทธาธิวาส ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อครั้งจัดสร้างพระหลวงพ่อทวด รุ่นเลขใต้ฐาน (เบตง) 2505 มีพุทธศิลป์ที่แปลกจากองค์หลวงพ่อทวดโดยทั่วไป คือมือทั้งสองข้างประทับบนหัวเข่า นิ้วชี้มือขวาชี้ลงบนพื้นดิน ผู้จัดสร้างพระหลวงพ่อทวด รุ่นเลขใต้ฐาน เบตง พ.ศ.2505 ได้ให้เหตุผลในการสร้างพระบูชาหลวงพ่อทวด พิมพ์นิ้วกระดกว่าเนื่องจากสมัยนั้นเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ อ.เบตง จึงได้จัดสร้างองค์หลวงพ่อทวดนี้ขึ้น เพื่อปกป้องพื้นแผ่นดินเบตง และเพื่อให้เกิดแรงบันดาลใจนำความสงบสุขมาสู่ประชาชน จึงได้ขออนุญาตพระคุณเจ้า พระสุนทรวิสุทธนานุวัตร เจ้าอาวาสวัดพุทธาธิวาส เพื่อจัดสร้าง พระหลวงพ่อทวด รูปหล่อลอยองค์ เลขใต้ฐาน พิมพ์นิ้วกระดกขึ้น หลวงปู่ทวดนิ้วกระดกจึงถือเป็นเอกลักษณ์ของหลวงปู่ทวดจากเมืองเบตง จังหวัดยะลา
วันพฤหัสบดีที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2564
สวนสุดสยาม สวนสาธารณะเทศบาลเมืองเบตง
สวนสุดสยาม สวนสาธารณะเทศบาลเมืองเบตง มีขนาดพื้นที่ 76 ไร่ บนเนินเขาใจกลางเมืองเบตงแห่งนี้ เป็นจุดชมทัศนียภาพที่สามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์ของเมืองเบตงได้อย่างชัดเจน ภายในสวนสุดสยามร่มรื่นด้วยไม้ยืนต้น ไม้ดอกนานาพันธุ์ และเป็นจุดศูนย์กลางซึ่งล้อมรอบด้วยสถานที่ต่างๆเช่น ศาลาภิรมย์ทัศน์ สนามเด็กเล่น สนามกีฬากาญจนาภิเษก สวนสุขภาพ ร.9 สระว่ายน้ำคงคา สนามกีฬากลางเทศบาลเมืองเบตง และพิพิธภัณฑ์เมืองเบตง ด้วยความร่มรื่นของสวนแห่งนี้ จึงนับเป็นปอดแห่งหนึ่งของเมืองเบตง ซึ่งเหมาะสำหรับเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ รวมถึงสถานที่ออกกำลังกายในตอนเช้าตรู่และตอนเย็น ผู้ที่ได้มาสัมผัสทัศนียภาพของสวนสุดสยามแห่งนี้ จะต้องประทับใจกับบรรยากาศที่สดชื่นด้วยกลิ่นอายของธรรมชาติไม่มากก็น้อยแน่นอน
วัตถุประสงค์ของสวนสุดสยามเทศบาลเมืองเบตง เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตประชาชนให้ดีขึ้นภายใต้บริบทของเมืองเบตง โดยคำนึงถึงผู้ใช้ทุกกลุ่ม ทุกเพศ ทุกวัย พัฒนาเมืองเบตงให้เป็นเมืองน่าอยู่ และพัฒนาพื้นที่ให้ใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า เป็นสวนสาธารณะที่มีศักยภาพทั้งทางด้านการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ พักผ่อนหย่อนใจ สามารถรองรับกิจกรรมนันทการ และการท่องเที่ยวได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงกีฬา
ประวัติสวนสุขภาพ ร.9 เทศบาลเมืองเบตง สวนสุขภาพ ร.9 จัดสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2560 เนื่องในโอกาสที่ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 โดยสวนสุขภาพ ร.9 เป็นส่วนหนึ่งของสวนสาธารณะเทศบาลเมืองเบตง มีเนื้อที่ประมาณ 26 ไร่ และในปี พ.ศ.2562 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 10,000,000 บาท จากสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดยะลา ในการปรับปรุงสวนสุขภาพ ร.9 อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
วันอังคารที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2564
พิพิธภัณฑ์เมืองเบตง 2021 Betong City Museum Thailand 2021
พิพิธภัณฑ์เมืองเบตง 2021 พิพิธภัณฑ์เมืองเบตงได้จัดตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2548 เพื่อให้ท้องถิ่นได้ตระหนักถึงการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมของคนในพื้นที่มากขึ้น พิพิธภัณฑ์เบตง มี 5 ชั้น โดยส่วนของการจัดแสดงมี 2 ชั้น ซึ่งชั้นล่างเป็นพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ข้าวของเครื่องใช้ในสมัยเก่า เช่น ถ้วยชาม เครื่องเคลือบ ตู้ เตียง ตะเกียงเก่า โดยนำมาจัดแสดงไว้ในตู้ไม้กระจกใส ตั้งอยู่หน้าบันไดทางขึ้น ส่วนชั้นที่ 2 มีการจัดแสดงรูปเก่า ๆ หนังสือพิมพ์ประวัติความเป็นมา โดยแขวนไว้บนฝาผนังของห้อง และมีการติดบอร์ดแสดงแหล่งข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจของอำเภอเบตง นอกจากนี้ชั้นที่ 3-5 ยังเป็นหอคอยชมวิวที่สามารถมองเห็นวิวเมืองเบตงทั้งเมืองได้ โดยเมืองเบตงจะเป็นรูปแอ่งกระทะ มีภูเขาล้อมรอบ
เวลาเปิดทำการ วันอังคาร-วันอาทิตย์
เวลาเช้า 8:30-12:00 น.
พักเที่ยง 12:00-13:00 น.
เวลาบ่าย 13:00-16:30 น.
หยุดทำการทุกวันจันทร์
จือปู คือภาชนะสำหรับใส่อาหารของชาวประมง ยามออกทะเล ทำจากไม้เนื้อแข็ง ประกอบด้วย 2 ส่วนใหญ่คือตัวจือปูกับฝาปิด ตัวจือปูมีลักษณะกลมรี คอดเล็กลงต่อกับฐานกลมผายออก ด้านในเป็นแอ่งเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 30-50 เซนติเมตร แอ่งตรงกลางนี้เป็นที่ใส่ข้าวปลาอาหาร ฝาปิดรูปกระทะคว่ำกรมรี ภายในเจาะเป็นแอ่งลึกเหมือนตัวจือปู เมื่อ 2 ส่วนประกบกัน ภายในเป็นโพรงจุอาหารได้มากพอกิน 1 วัน ตรงฐานรองจะเจาะรู 4 รูอยู่คนละมุม ใช้เชือกหรือหวายร้อยไขว้กันขึันมาจากก้นเป็นหูหิ้ว จือปูเก็บอาหารได้มิดชิด แม้ตกจากเรือก็ไม่จม สมัยก่อนชาวประมงจึงนิยมใช้กันมาก
วันจันทร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2564
เส้นทางเมืองเบตง-บ้าน กม 7-สนามบินเบตง 2021
เส้นทางเมืองเบตง-บ้าน กม 7-สนามบินเบตง 2021 สนามบินเบตงกำลังจะเปิดใช้บริการ ดังนั้นจึงต้องอัปเดตข่าวสารเส้นทางต่างๆที่จะเดินทางเข้าไปยังสนามบินเบตง โดยเส้นทางจากเมืองเบตงไปยังสนามบินเบตงสามารถไปได้ 2 เส้นทาง เส้นทางที่ 1 จากเมืองเบตงไปทางยะรม (จันทรัตน์) เส้นทางหมายเลข 4326,4062 ใช้เวลาเดินทางประมาณ 15 นาที
เส้นทางที่ 2 จากเมืองเบตงไปทางเส้นทางหมายเลข 410 ตัดเข้าไปทางบ้าน กม.7 เส้นทางหลวงชนบท ยล 3026 ใช้เวลาเดินทางประมาณ 20 นาที
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)