จุดพลุฉลองเทศกาลตรุษจีน การจุดพลุเป็นกิจกรรมที่สำคัญในการฉลองตรุษจีน เพราะความเชื่อว่าเป็นการขับไล่สิ่งไม่ดีและเป็นการเฉลิมฉลองในวันขึ้นปีใหม่ วันตรุษจีน 2564 ตรงกับวันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ เป็นหนึ่งในเทศกาลที่สำคัญที่สุดของชาวจีน
ประวัติวันตรุษจีน หรือปีใหม่จีน
ตรุษจีนนั้นคล้ายคลึงกับวันปีใหม่ในประเทศทางตะวันตก ร่องรอยของประเพณี พิธีกรรมความเป็นมาของการฉลองตรุษจีนนั้น มีมานานกว่าศตวรรษ (100 ปี) จริงๆแล้วนานมาก จนไม่สามารถย้อนกลับไปดูว่าเริ่มต้นฉลองมาตั้งแต่เมื่อไร
ตรุษจีนนั้นเป็นที่รู้จักและจำได้ทั่วไปว่าเป็น การฉลองเทศกาลฤดูใบไม้ผลิ และการฉลองเป็นเวลานานถึง 15 วัน การเตรียมงานฉลองส่วนใหญ่จะเริ่มหนึ่งเดือนก่อนวันตรุษจีน (คล้ายกับวัน คริสต์มาสของประเทศตะวันตก) เมื่อผู้คนเริ่มซื้อของขวัญ, สิ่งต่างๆ เพื่อประดับบ้านเรือน, อาหารและเสื้อผ้า การทำความสะอาดครั้งใหญ่ก็เริ่มขึ้นในวันก่อนตรุษจีน บ้านเรือนจะถูกทำความสะอาดตั้งแต่บนลงล่าง หน้าบ้านยันท้ายบ้าน ซึ่งหมายถึงการกวาดเอาโชคร้าย ออกไป ประตูหน้าต่างมีการขัดสีฉวีวรรณทาสีใหม่ซึ่งสีแดงเป็นสีนิยม ประตูหน้าต่างจะถูกประดับประดาด้วยกระดาษที่มีคำอวยพรอย่างเช่น อยู่ดีมีสุข ร่ำรวย และอายุยืน เป็นต้น
ที่มาของวันตรุษจีน เกิดจากการจัดขึ้น เพื่อตั้งใจที่จะฉลองฤดูใบไม้ผลิ เนื่องจากช่วงก่อนเทศกาลตรุษจีนนั้น ประเทศจีนปกคลุมไปด้วยหิมะ จึงไม่สามารถทำการเกษตรได้ เมื่อเข้าถึงฤดูใบไม้ผลิ จึงจะสามารถเพาะปลูกพืนผักได้ตามปกติ ชาวจีนจึงกำหนดให้วันแรกของฤดูใบไม้ผลิตในแต่ละปีเป็นวันสำคัญที่เรียกว่า "วันตรุษจีน"
อาหารวันตรุษจีน ประเพณีและพิธีกรรมต่างๆ นั้นผูกไว้กับทุกสิ่งทุกอย่าง ตั้งแต่ อาหาร ไปจนถึงเสื้อผ้า อาหารค่ำนั้นประกอบด้วยอาหารทะเล และอาหารนึ่งเช่นขนมจีบ ซึ่งแต่ละอย่างจะมีความหมายต่างๆกัน อาหารอันโอชะอย่างเช่นกุ้งจะหมายถึงชีวิตที่รุ่งเรืองและความสุข เป๋าฮื้อแห้งหมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่ดี สลัดปลาสดจะนำมาซึ่งโชคดี จี้ไช่ (ผมเทวดา) สาร่ายดูคล้ายผมแต่กินได้จะนำความความร่ำรวยมาให้ และขนมต้ม (Jiaozi) หมายถึงบรรพชนอวยพร
เสื้อผ้าวันตรุษจีน การใส่เสื้อผ้าสีแดงถือเป็นสีที่เป็นมงคล เป็นการไล่ปีศาจร้ายให้ออกไป และการใส่สีดำหรือขาวเป็นสิ่งต้องห้าม ซึ่งสีเหล่านี้ถือว่าเป็นสีแห่งการไว้ทุกข์ หลังจากอาหารค่ำทุกคนในครอบครัวนั่งกันจนเช้าเพื่อรอวันใหม่โดยการเล่นเกม เล่นไพ่ หรือดูรายการทีวีที่เกี่ยวกับวันตรุษจีน และในวันนี้จะต้องไม่โกรธ ริษยา หรือ ไม่พอใจ เพื่อเป็นสิริมงคลที่ดีสำหรับปีที่กำลังจะมาถึง
สาระ บันเทิง การท่องเที่ยว กิจกรรมทั่วไปเกี่ยวกับเรื่องรอบตัวเรา และเกล็ดเล็กเกล็ดน้อยของเมืองเบตง สถานที่ต่างๆที่เคยไปมา อาหารการกินของคนท้องถิ่น เผยแพร่เรื่องราวต่างๆในมุมมองของชีวิตผ่านสายตาของท่านผู้ชมทุกคน กับเรื่องราวต่างๆที่ได้ถ่ายทอดออกมาซึ่งอาจมีประโยชน์ด้านข่าวสารและเป็นประสบการณ์ความทรงจำของชีวิตเรา
วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564
วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564
ตรวจสอบสิทธิ "เราชนะ"
วิธีตรวจสอบสิทธิ "เราชนะ"
1. พิมพ์ www.เราชนะ.com
2.คลิกที่ ตรวจสอบสถานะผู้ได้รับสิทธิ
3.กรอกข้อมูลใด้ครบถ้วน
3.1 เลขบัตรประชาชน
3.2 ชื่อ
3.3 นามสกุล
3.4 ปี พ.ศ. เกิด
3.5 เดือนเกิด
3.6 วันเกิด
กรอกข้อมูลเสร็จแล้ว กด ตรวจสอบสภานะ เสร็จแล้วจะมีข้อความบอกว่าได้รับสิทธิ "เราชนะ"
วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564
เส้นทางท่องเที่ยวบ้านวังไทร ถนนริมเขื่อนบางลาง เกาะทวด
เส้นทางท่องเที่ยวบ้านวังไทร ถนนริมเขื่อนบางลาง เกาะทวด จุดเริ่มต้นที่แยกบ้าน กม.39 ถ้ามาจากเบตงอยู่เลนซ้ายบนจอ (ประมาณ กม.39) ถ้ามาจากยะลาอยู่เลนขวาบนจอ (ประมาณ กม.95) เลี้ยวขวาใช้เส้นทาง อบจ.4207 ข้ามสะพานเบตง (แม่น้ำปัตตานี) จากนี้ไปบ้านชุมชนพัฒนา 3 กม. บ้านปะเด็ง 7 กม. บ้านวังไทร 14 กม. โดยเส้นทางจะเป็นเขาสูงชันและคดเคี้ยว และมีลักษณะภูมิประเทศเป็นทิวเขาสูง ทำให้สามารถมองเห็นทะเลหมอกและทิวทัศน์ที่สวยงาม เหมาะแก่การท่องเที่ยว ปัจจุบันมีการสร้างที่พัก รีสอร์ท โฮมสเตย์ ได้แก่ ทะเลหมอกรีสอร์ท ดูเรียนการ์เด้นโฮม คูลแคมปิ้ง รีสอร์ท จันผาโฮมสเตย์ ริมเขื่อนแคมป์ 66Baanaisuan บ้านในสวน รีสอร์ท สำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการพักผ่อนค้างแรมกัน
จากบ้านวังไทรก็จะมีเส้นทางถนนริมเขื่อนบางลาง เป็นเส้นทางที่สามารถมองเห็นน้ำแนวเขตของเขื่อนบางลาง และมีทิวทัศน์ที่สวยงาม จากจุดนี้ไปประมาณ 5 กม.ก็จะมีรีสอร์ท 66 Baanaisuan เป็นรีสอร์ทเป็นที่พักที่ติดกับริมน้ำเขื่อนบางลาง
ถนนริมเขื่อนบางลาง เส้นทางหลวงชนบท ยจ 5042 เป็นเส้นทางสำหรับนักท่องเที่ยวที่ชอบขับรถชมวิวศึกษาแนวธรรมชาติ ถ้าขับรถไปจนสุดถนน ยจ 5042 ก็จะได้เห็นเกาะที่อยู่กลางน้ำนั้นก็คือ "เกาะทวด"วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564
OK BETONG
OK BETONG ก่อนเข้าเมืองเบตงท่านจะได้พบกับป้ายขนาดใหญ่ที่เขียนว่า" OK BETONG" และป้าย "ยินดีต้อนรับสู่เบตง" เป็นป้ายต้อนรับนักท่องเที่ยวก่อนที่จะถึงเมืองเบตง มีการตกแต่งภูมิทัศน์และติดตั้งแสงไฟให้สวยงาม เช่นไฟรูปไก่เบตง กบภูเขาเบตง นกนางแอ่นเบตง เพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวที่จะมาเยือนยังเมืองเบตง และเพิ่มสีสันให้กับเมืองเบตงอีกด้วย
วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2564
เบตง ประดับโคมไฟต้อนรับเทศกาลตรุษจีน สวยงามและอลังการ
เทศบาลเมืองเบตงได้ทำการตกแต่งประดับประดาโคมไฟต้อนรับเทศกาลตรุษจีน โดยติดตั้งรอบเมืองเบตง เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเที่ยวเบตง และสร้างบรรยากาศการท่องเที่ยวให้คึกคัก และสัมผัสบรรยากาศหน้าหนาวปีใหม่นี้ด้วย ขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวที่สนใจให้มาถ่ายรูป เซลฟี่สวยๆเก็บไว้เป็นที่ระลึก
วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2564
วิธีสมัครเราชนะ
วิธีสมัครเราชนะ
1. เข้าสู่เว็บไซต์ www.เราชนะ.com
2. กดคำว่า "ลงทะเบียนใหม่" (ปุ่มสีแดง) จากนั้นกรอกข้อมูล
ชื่อ-สกุล
เลขบัตรประจําตัวประชาชน
รหัสหลังบัตรประจําตัวประชาชน
วันเดือนปีเกิด
เบอร์โทรศัพท์
3. ใส่รหัส OTP ซึ่งจะส่งจากเบอร์โทรศัพท์ที่ใส่ในระบบ
4. ระบบจะขึ้นข้อความว่า "ระบบได้รับข้อมูลของท่านแล้ว โดยจะดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติของท่านตามเงื่อนไขโครงการต่อไป" โดยสามารถตรวจสอบสิทธิ์ผ่านเว็บไซต์ www.เราชนะ.com ได้ตั้งแต่วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นต้นไป
. ผู้ที่ไม่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และไม่ได้ลงทะเบียนคนละครึ่ง-เราเที่ยวด้วยกัน จะต้องลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.เราชนะ.com โดยเปิดวันแรก 29 มกราคม - 12 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 06.00-23.00 น. โดยผู้ที่ต้องการลงทะเบียน "เราชนะ" จะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
1. เป็นผู้มีสัญชาติไทย อายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
2. ไม่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 แห่งกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม
3. ไม่เป็นข้าราชการ พนักงานราชการ พนักงาน ลูกจ้าง เจ้าหน้าที่ หรือผู้ปฏิบัติงานอื่นใดในหน่วยงานของรัฐที่ได้รับค่าตอบแทนจากหน่วยงานของรัฐโดยตรง
4. ไม่เป็นข้าราชการการเมืองตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
5. ไม่เป็นผู้รับบำนาญปกติ หรือเบี้ยหวัดจากส่วนราชการ
6. ไม่เป็นผู้มีเงินได้พึงประเมินเกิน 300,000 บาท ตามฐานข้อมูลที่มีล่าสุด
7. ไม่มีเงินฝากรวมกันทุกบัญชีเกิน 500,000 บาท ตามฐานข้อมูลที่มีล่าสุด
สะพานยีลาปัน Yilapan Bridge, Thailand
สะพานยีลาปัน เป็นอนุสรณ์สะพานโบราณข้ามแม่น้ำปัตตานี ตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 410 เบตง-ยะลา ได้มีการก่อสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2484 หลังสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 มาราว 10 ปี เป็นสะพานเหล็กที่มีฐานเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก มีความยาว 239 เมตร กว้าง 6 เมตร ขณะดำเนินการก่อสร้างเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา โดยใช้ระยะเวลาก่อสร้างนานกว่า 10 ปี และได้ตั้งชื่อว่า “สะพานหงสกุล” เพื่อเป็นเกียรติประวัติแก่นายถวัลย์ หงสกุล นายช่างแขวงการทางยะลา ซึ่งสะพานแห่งนี้ได้มีการซ่อมแซมบำรุงถึง 2 ครั้ง โดยล่าสุด ได้มีการเสริมพื้นสะพานให้เป็นเหล็กรางผึ้งทั้งหมด เพื่อให้เกิดความคงทนถาวร จนกระทั้งในปี 2538 แขวงการทางยะลา ก็ได้สร้างสะพานคอนกรีตขึ้นมาทดแทนเนื่องจากสะพานยีลาปัน แคบไม่สะดวกในการสัญจร จึงมีการสร้างใหม่เพื่อนทดแทนของเดิม ปัจจุบันสะพานยีลาปัน ได้กลายเป็นแลนด์มาร์คสำคัญของอำเภอบันนังสตา เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญของพื้นที่แห่งนี้ นักท่องเที่ยวที่ผ่านไปมาสามารถแวะถ่ายภาพเก็บไว้เป็นที่ระลึกได้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)